24/12/2024

ภูเก็ต  – ชาวบ้านร้อง กอ.รมน. ภาค 4 ลงตรวจสอบ พื้นที่เอกชนฟ้องขับไล่ชาวบ้าน หลังเข้าถือครองเปิดเผยกว่า 20 ปี

2024-01-07_17-25-18

ภูเก็ต  – ชาวบ้านร้อง กอ.รมน. ภาค 4 ลงตรวจสอบ พื้นที่เอกชนฟ้องขับไล่ชาวบ้าน หลังเข้าถือครองเปิดเผยกว่า 20 ปี

เมื่อ (7 มค.67) วันนี้ พล.ตรี ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่4 มอบหมายให้ พล.ตรี อนุสร โออุไร รองแม่ทัพภาคที่4 ลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงที่ดิน ชุมชนประชาสามมัคคี หมู่ที่2 ตำบลเกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต หลังชาวบ้านลงชื่อทำหนังสือร้องเรียนถึง อก.รมน.ภาคที่4 กว่า 300 ครอบครัว เกือบ 2000 คน ขอความเป็นธรรม เนื่องจากชาวบ้านเห็นเป็นที่รกร้างว่างเปล่ามาตั้งแต่ปี 2534 จึงได้เข้ามาจับจองแผ้วถางทำเป็นที่อยู่อาศัย ตั้งแต่ปี 2545 ต่อมาถูกเอกชนรายหนึ่งเข้ามาอ้างถือกรรมสิทธิ์เข้าครอบครอง ในปี 2549 โดยแจ้งความกล่าวหาว่าชาวบ้านบุกรุกที่สัมปทานบัตร (เหมืองแร่)

ในปี 2547 จังหวัดภูเก็ตออกประกาศว่าที่ดินแปลงนี้จำนวน 300 ไร่เป็นที่ของรัฐ ห้ามผู้ได้มาบุกรุก ถ้ามีผู้ไดเข้ามาบุกรุกจะมีความผิดทางกฎหมาย ต่อมาเอกชนผู้อ้างสิทธิ์ครอบครองได้ยื่นฟ้องต่อจังหวัดภูเก็ต ในปี 2548 ให้ยกเลิกประกาศเป็นที่ดินของรัฐ ต่อมาทางอำเภอเมืองภูเก็ตได้ประกาศทีาดินแปลงนี้เป็น ที่ดินศานะประโยชน์ให้ใช้ร่วมกัน ในปี 2548 หลังจากนั้นทางผู้ถือกรรมสิทธิ์ครอบครองได้เข้าร้องต่อศาลให้ทางนายอำเภอเมืองภูเก็ตในขณะนั้น ขอให้เพิกถอนประกาศในที่ดินแปลงดังกล่าวนี้ ต่อมา อำเภอเมืองครับได้ ถอนประกาศและ คืนที่ดินแปลงดังกล่าวนี้ให้เป็นที่ของเอกชนใน 10 ตค.ปี พ.ศ. 2560

หลังจากปี 2560 ชาวบ้านทั้งหมดหลายครอบครัวก็ถูกเอกผู้มีสิทธิ์ครอบครองที่แปลงนี้ฟ้องขับไล่จนถึงปัจจุบัน

รวม 200 กว่าคดี มีแพ้บ้าง ชนะบ้าง เรื่อฟ้องร้องอยู่ในศาลชั้นต้น กำลังจะเข้าศาลอุทร

 

ด้าน พลตรี อนุสร โออุไร รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าว่า หลังจากที่ แม่ทัพภาคที่สี่ได้รับหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้านชุมชนประชาสามัคคีหมู่ที่สองตำบลเกาะแก้วอำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ตแล้ว มอบหมายให้ตนรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ซึ่งตนได้สั่งการให้ทีมงาน อกรมน. ภาคทีา4 ลงพื้นที่สองตัวเก็บข้อมูลอยู่กับชาวบ้านเป็นเวลาหลายเดือนแล้วจนได้ข้อมูลว่าที่ดินแปลงดังกล่าวที่ชาวบ้านถูกนายทุนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาฟ้องขับไล่ชาวบ้านเกิดเป็นคดีความกันมากมายจนถึงปัจจุบัน

 

วันนี้หลังจากทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานได้ชัดเจนแล้วว่าที่แปลงดังกล่าวนี้เป็นที่ป่าชายเลนมาก่อนจากการสำรวจขุดเจาะดิน ที่เป็นชุมชนที่มีบ้านของชาวบ้านปลูกอยู่อาศัยพบว่าดินดังกล่าวด้านล่างเป็นป่าชายเลนมีใบไม้ที่เป็นพืชป่าชายเลนทับถมกันเป็นจำนวนมาก และประกอบกับการตรวจสอบพิสูจน์ผลอาสินเป็นต้นมะพร้าวจำนวนหลายต้นซึ่งปลูกอยู่ในชุมชนอันนี้ผลสรุปออกมาว่าต้นมะพร้าวแต่ละต้นนั้นมีอายุมากกว่า 15 ถึง 20 ปีมาแล้ว ซึ่งก็แสดงว่าพื้นที่แปลงนี้เป็นป่าชายเลนมาก่อนและชาวบ้านได้เข้ามากระถางปลูกเป็นที่อยู่อาศัยและปลูกต้นมะพร้าวไว้เป็นแนวเขตแดนอยู่แล้ว

อีกประการหนึ่งจากการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ที่นายทุนอ้างกับทางศาลว่าที่แปลงดังกล่าวเคยเป็นที่ใช้ทำประโยชน์มาก่อน แต่จากการตรวจสอบแผนที่ทางอากาศทางทีมสำรวจไม่พบร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวมาก่อนเห็นแต่ภาพป่าชายเลนเท่านั้น และเอกสารสิทธิ์เป็นใบสัมปทานบัตรเหมืองแร่ก็เป็นแปลงที่ไม่ตรงกันกับทางนายทุนเบิกความไว้ซึ่งจากการสำรวจก็พบอีกว่าเอกสารเลขที่ตามประทานบัตรเมืองแร่อยู่อีกที่หนึ่งแต่ขยับย้ายเข้ามา / พี่ป่าชายเลนแปลงนี้ซึ่งปัจจุบันก็เป็นที่อยู่อาศัยของ ชาวบ้านชุมชนประชาสามัคคีกว่า 300 ครัวเรือน

 

ทหารมีหน้าที่ทำความจริงให้ปรากฏจะนำการแปลภาพถ่ายทางอากาศการสำรวจผลอาสินซึ่งเป็นต้นมะพร้าวและดินที่เจาะจากพื้นที่ในชุมชนไปต่อสู้ในชั้นศาลเพื่อทวงความยุติธรรมคืนสู่ชุมชน ให้พี่น้องประชาชนนอนตาหลับได้และไม่ต้องกังวลว่าต่อไปนี้จะไม่มีที่อยู่ไม่มีที่นอนอีกต่อไป

นายสมชาย สังข์สนธ์ รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดภูเก็ต

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป