24/12/2024

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ระดมกวาดล้างลำโพงไม่มี มอก./ปลอม/เลียนแบบแบรนด์ดัง หลอกลวงจำหน่ายทางออนไลน์

IMG_6373

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ระดมกวาดล้างลำโพงไม่มี มอก./ปลอม/เลียนแบบแบรนด์ดัง
หลอกลวงจำหน่ายทางออนไลน์

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย บก.ปคบ. ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รอง ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.วิทยา
ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ,พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง, พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.ภาคภูมิ ศรีลาภะมาศ, พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์,พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.พงษ์พันธ์ ศิริภัทรนุกุล ผกก.3 บก.ปคบ., พ.ต.ท.เทพรัตน์ศุกระกาญจน์, พ.ต.ท.ธงฉาน ตันบุญเจริญ รอง ผกก.3 บก.ปคบ., พ.ต.ท.มงคล นนท์ธีระโรจน์ ประจำ (สบ 3) บก.ปคบ.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.วัลลภ นุชกำบัง, พ.ต.ท.ชณิตพงศ์ ศิริเวช, พ.ต.ท.ภูมิพัฒน์ บัวรัตนกุล, พ.ต.ท.สถาพร มุสิกพงศ์ สว.กก.3 บก.ปคบ. พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ กก.3 บก.ปคบ.
พร้อมตรวจยึดของกลาง ผลิตภัณฑ์ฯ เครื่องเสียงที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต และลำโพง
แบรนด์ดังยี่ห้อ Marshall ที่ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จำนวนกว่า 300 หน่วย มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท
ข้อกล่าวหา “ทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่กำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 20 มาตรา 21 ต้องระวางโทษตามมาตรา 48 จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
​“โฆษณา จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำหรือนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร” ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 36 ต้องระวางโทษ ตามมาตรา 55 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
​กรณีปลอมลำโพงแบรนด์ดัง เป็นการกระทำผิดฐาน “มีไว้เพื่อจําหน่าย ซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของ บุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร” ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 ประกอบ มาตรา 108 อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พฤติการณ์ สืบเนื่องจาก สายตรวจออนไลน์ของ บก.ปคบ. และชุดปฏิบัติการ กก.3 บก.ปคบ.
ตรวจพบว่าได้มีการโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฯ เครื่องเสียงที่ใช้งานภายในบ้านพักอาศัยบนเว็ปไซต์
ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะแพล็ทฟอร์มที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เช่น Facebook Tiktok ซึ่งอาจถูกใช้เป็นช่องทางในการหลอกขายสินค้า หรือนำสินค้าเลียนแบบ ไม่มีคุณภาพมาจำหน่าย ทำให้มีผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนจากการซื้อสินค้า ซึ่งจากการสืบสวนแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีลักลอบจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฯ แบรนด์ดังโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีเครื่องหมาย มอก.

และกรณีลักลอบทำผลิตภัณฑ์ฯ เลียนแบบแบรนด์ดัง หรือผลิตภัณฑ์ฯ แบบ DIY โดยไม่ขออนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเสียงและลำโพงแบรนด์ดังยี่ห้อต่างๆ จัดเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เลขที่ มอก.62368 เล่ม 1-2563 การที่ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจถูกหลอกลวงด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์ฯ แต่ไม่ได้ผลิตภัณฑ์ฯ ตามที่ต้องการ หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน กก.3 บก.ปคบ. จึงได้ระดมกำลังทุกชุดปฏิบัติการทำการสืบสวนและลงพื้นที่ตรวจค้นแหล่งผลิตและจำหน่าย ในพื้นที่ต่างๆ รวมกว่า 10 จุด
ผลการตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ฯ เครื่องเสียงที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต และลำโพง
แบรนด์ดังยี่ห้อ Marshall ที่ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จำนวนกว่า 300 หน่วย มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท นำส่งพนักงานสอบสวน กก.3.บก.ปคบ. ดำเนินคดีพร้อมขยายผลดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องต่อไป
​โดย นายอชิตพัชร์ เครือวัลย์ ผู้แทนจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายลำโพง Marshall ได้เข้าร่วมตรวจสอบผลิตภัณฑ์เบื้องต้น และเข้าขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. ที่ได้ทำการสืบสวนทำการจับกุมลำโพง Marshall ปลอม เนื่องจากปัจจุบันได้มีการลักลอบจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และทางบริษัทฯ มีความยินดีที่จะประสานความร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจับกุมต่อไป
เตือนภัย โดย พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. ได้สั่งการให้กวดขันจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายและสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้บริโภค จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ประกอบการที่ผลิต, นำเข้า และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ ต้องให้เป็นไปตามที่มาตรฐานอุตสาหกรรม กำหนด และขอแนะนำให้ประชาชนผู้บริโภคให้เลือกซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยดูได้จากการแสดงเครื่องหมาย มอก. พร้อมคิวอาร์โค้ด ที่ระบุอยู่ที่ตัวผลิตภัณฑ์หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ และสามารถตรวจสอบจากคู่มือผู้ซื้อภายในเว็ปไซต์ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) www.tisi.go.th และหากประชาชนผู้บริโภคพบเห็นหรือมีเบาะแสเกี่ยวกับสินค้าไม่มี มอก. สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลผ่านทางสายด่วน บก.ปคบ. หมายเลข 1135 หรือทางหน้าเพจ facebook : กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป