25/12/2024

ปราจีนบุรี-ชาวบ้านลาดตะเคียนรวมตัวประท้วงคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

IMG_20231226_092733_0

ปราจีนบุรี-ชาวบ้านลาดตะเคียนรวมตัวประท้วงคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 ภายในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ได้มีเวทีแสดงความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม บริษัท กรีน แคร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด วัตถุประสงค์ของการประชุมรับฟังความเห็นและต้องความเข้าใจกับประชาชน โดยการนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรับฟังความเห็นและข้อกังวลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างรอบด้านจากประชาชน ขณะเดียวกันได้มีชาวบ้านตำบลลาดตะเคียน ตำบลหาดนางแก้วจำนวน 7 หมู่บ้าน รวมตัวกันประท้วงจำนวนกว่า 300 คนบริเวณในพื้นที่พร้อมทั้งนำป้ายการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า พยายามเคลื่อนตัวเข้ามาเพื่อที่จะคัดค้านในที่ประชุม แต่ทางด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่อนุญาตให้เข้าภายในพื้นที่เพราะเกรงว่าจะมีการปะทะกันอย่างรุนแรงจึงให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายออกไปตามจุดด้านนอกเท่านั้น


จากการสอบถามนายเฉลิมชัย กล้าหาญ ชาวบ้าน ม.1 ต.ลาดตะเคียน กล่าวว่าชาวบ้านที่มาร่วมการคัดค้านในครั้งนี้ยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าบริษัทที่จะมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรม จะมีการบริหารจัดการที่ดีในเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ชาวบ้านในพื้นที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากในพื้นที่ที่ผ่านมาประสบปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมมาหลายครั้งแล้ว และยังไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เกรงว่าจะส่งผลกระทบกับชาวซ้ำเก่า สำหรับเวทีในครั้งนี้มีนางวัชราภรณ์ แตงหมี นายอำเภอกบินทร์บุรี คอยสังเกตการณ์


ทางด้านบริษัท กรีน แคร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด กล่าวถึงโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงเป็นเพียงเฉพาะเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมประเภท เศษกระดาษ เศษไม้ เศษผ้า เศษยาง เศษหนัง และ พลาสติก ซึ่งไม่ใช่ขยะจากครัวเรือน หรือขยะพิษ หรือขยะอิเล็คทรอนิกส์ แต่อย่างใดและมีการตรวจสอบแหล่งที่มาและจำนวนควบคุมโดยหน่วยงานราชการซึ่งกรรมวิธีมีการคัดแยกเศษวัสดุที่สับหรือตัดให้ละเอียดก่อนอัดก้อนควบคุมความชื้นไม่เกิน 20% ไม่มีน้ำหรือของเสียเหลวและง่ายต่อการเผาไหม้ ในส่วนของเทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้าใช้การเผาไหม้ไปต้มน้ำ เพื่อนำไอน้ำไปปั่นไดนาโมกำเนิดกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตมีระบบกรองฝุ่นละอองที่ละเอียดถึง PM 2.5 ป้องกันฝุ่นละอองที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อความมั่นใจและตรวจสอบได้ของหน่วยงานกำกับกรมควบคุมมลพิษและชุมชนสามารถตรวจสอบได้

โดยมีการติดตั้งระบบ CEMs สำหรับในการตรวจวัดสารต่างๆที่ปล่อยออกจากปล่องของโรงไฟฟ้าตลอดเวลา(แบบเรียลไทม์) เพื่อตรวจวัดปริมาณมลสารทางใน อากาศ 24 ชม. จึงสามารถควบคุมมวลสารทางอากาศได้
ส่วนประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เพิ่มอัตราการจ้างงาน สร้างรายได้ในกับชุมชนและสร้างความเจริญให้กับคนในพื้นที่และยังเสียภาษีบำรุงพื้นที่ โดยเฉพาะภาษีโรงเรือนให้กับท้องถิ่นได้พัฒนาพื้นที่ของตนเอง และที่สำคัญยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโดยทางบริษัท จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าฯ เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (อัตราตามกฎหมายกำหนด) นอกจากนั้นช่วงก่อสร้างเกิดการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และ และมีโอกาสในการจ้างงานลูกหลานในพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการลดปริมาณขยะอุตสาหกรรมของประเทศ และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของจังหวัดและประเทศด้วย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายของประเทศ ต่อไป

 

/////////ณัฐวัฒน์ กุลเศรษฐ์สุวภา ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดปราจีนบุรี

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป