25/11/2024

ประจวบคีรีขันธ์-สสจ.ประจวบฯ เร่งล้อมคอก หลังพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา 10 ราย ที่หัวหิน

ประจวบคีรีขันธ์-สสจ.ประจวบฯ เร่งล้อมคอก หลังพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา 10 ราย ที่หัวหิน
เมื่อวันที่ 15ธ.ค.66 ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบฯ นพ.วัชรพงษ์ เหลืองไพรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุข จ.ประจวบฯ เป็นประธานการประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา มี นายเจนวิท ผลิศักดิ์ สาธารณสุขอำเภอหัวหิน, นายจีรวัฒน์ พราหมณี ปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน, ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 5.3 จังหวัดประจวบฯ, งานควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลหัวหิน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9 แห่ง, อสม. และประธานชุมชนในเขตเทศบาลฯ เข้าร่วมรับฟัง จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 22 พ.ย.66 พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกากระจายในหลายจังหวัด จำนวน 644 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.97 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา จ.ประจวบฯ มีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. – 10 ธ.ค.66 จำนวน 10 ราย อัตราป่วย 7.91 ต่อแสนประชากร ในพื้นที่ อ.หัวหิน และพบรายงานหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิกา 1 ราย ซึ่งกรณีตรวจพบเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์อาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ซึ่งสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกทางสายสะดือ ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะเสี่ยงศีรษะเล็กตั้งแต่แรกเกิด มีผลต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาในระยะยาว
นพ.วัชรพงษ์ เหลืองไพรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา ที่ อ.หัวหิน ทั้งสิ้น 10 ราย อยู่ในตำบลหัวหิน 7 ราย หนองแก 2 ราย หินเหล็กไฟ 1 ราย ตอนนี้เรากำจัดแหล่งลูกน้ำยุงลายได้ดีในพื้นที่รอบๆ บ้านหรือว่าตำบลที่มีการแพร่ระบาดซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมการระบาด ส่วนเรื่องที่ 2 คือ การพ่นยุงตัวแก่ เนื่องจากว่าตัวโรคไวรัสซิกานำไวรัสไปติดคนด้วยยุงลาย เราคิดว่าเราจัดการในเรื่องของยุงตัวแก่ได้ดี กำจัดลูกน้ำยุงลายได้ดี ก็จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตอนนี้มาตรการหลักๆ เรามุ่งไปที่ต้นเหตุ โดยจะประสานสาธารณสุขอำเภอหัวหินเพื่อประสานไปในพื้นที่ร่วมกับทางชุมชน ทาง อสม. ลงไปกำจัดแหล่งลูกน้ำยุงลายให้ได้มากที่สุด ให้มีค่าเป็นศูนย์เลยยิ่งดี อีกมาตรการคือ การพ่นหมอกควัน ช่วยเรื่องของการกำจัดยุงตัวแก่ ที่เหลือก็คงต้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับทางชุมชนในแหล่งที่มีการติดเชื้ออยู่ให้ช่วยๆ กันดูแลในเรื่องของสภาพแวดล้อม ในเรื่องของแหล่งลูกน้ำ ป้องกันทายากันยุง หลีกเลี่ยงอย่าให้ยุงมากัดเราง่ายก็จะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดของการป้องกัน ถ้าเรามีมาตรการที่ควบคุมดี เราตัดวงจรการระบาดนี้ได้ดี เรื่องของลูกน้ำ เรื่องของยุง โรคนี้มันก็จะจบลง.
นายนิพล ทองเก่า ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสยามโฟกัสไทม์/4เหล่าทัพ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์0909944781

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป