21/01/2025

ลำพูน – หอการค้าจังหวัดลำพูน ร่วมงานเสวนา “โอกาสทางธุรกิจในประเทศอินเดีย” แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เกี่ี่ยวกับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของไทยและอินเดีย

441696_0

ลำพูน – หอการค้าจังหวัดลำพูน ร่วมงานเสวนา “โอกาสทางธุรกิจในประเทศอินเดีย” แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เกี่ี่ยวกับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของไทยและอินเดีย

 

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 หอการค้าจังหวัดลำพูน โดย นายบรรจง วิพรหมชัย ประธานหอการค้าจังหวัดลำพูน, นายสุนัย จันทร์สว่าง รองประธานหอการค้าฯ, นายนพดา อธิกากัมพู เลขาธิการหอการค้าฯ และสมาชิกหอการค้าฯ ร่วมงานเสวนา “โอกาสทางธุรกิจในประเทศอินเดีย” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยและอินเดีย ณ ห้องจามจุรี 1 ชั้น 2 เดอะแกรนด์จามจุรี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล ลำพูน ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือลำพูน จังหวัดลำพูน

นายบรรจงฯ กล่าวว่า ในนามหอการค้าจังหวัดลำพูน ขอต้อนรับคณะกงศุลอินเดีย ประจำประเทศไทย และคณะฯด้วยความยินดียิ่ง และได้ให้โอกาสแนะนำภาระกิจ แนะนำศักยภาพของหอการค้าจังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูนเป็นหนึ่งในสี่ของจังหวัด ที่ต้องขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล ในแผนแม่บทระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ 4 จังหวัด (NEC – North Econnomic Coridor) ประกอบด้วย 1.จังหวัดลำปาง 2.จังหวัดลำพูน 3.จังหวัดเชียงใหม่ และ 4.จังหวัดเชียงราย

จังหวัดลำพูนถือเป็นศูนย์กลางของ ภายใต้กรอป BCG Model เพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจสังคม ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม และให้ภาคเหนือบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามองค์การสหประชาชาติ(NU) และสอดคล้องกับทษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9

วันนี้(30 พ.ย. 66)จึงเป็นโอกาสที่ดีที่หอการค้าจังหวัดลำพูน จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อโอกาสในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในระยะยาว โดยจังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่มี(รายได้ต่อหัวต่อประชากร) สูงเป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ จังหวัดลำพูนเรามีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในหลายๆด้าน เราเป็นนครแห่งอุตสาหกรรม เป็นแหล่งเดียวของภาคเหนือ ปัจจุบันมี 4 นิคมอุตสาหกรรม ได้รับความสนใจจากทุกประเทศทั่วโลกที่ต้อองการเข้ามาลงทุน

จังหวัดลำพูนเป็นนครแห่งผลไม้ เรามีลำไย มีทั้งลำไยสด ลำไยอบแห้ง ลำไยเนื้อสีทอง และลำไยแปรรูอีกหลากหลาย ที่ส่งขายไปทั่วโลก เรามีแหล่งเลี้ยงปศุสัตว์ เรามีมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ สร้างมูลค่าให้กับจังหวัดลำพูน เรามีกระเทียมและกระเทียมดำส่งจำหน่ายไปทั่วโลก

จังหวัดลำพูน เป็นนครแห่งวัฒนธรรมและศิลปกรรม เราเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และมี Solf Power ทั้งเรื่องของศิลปะ วัมนธรรมเก่าแก่ 1,366 ปี และความโดดเด่นของงานผ้า ทั้งผ้าไหม ผ้าไหมยกดอก ผ้าฝ้าย และผ้าพื้นเมือง

ด้วยศักยภาพของจังหวัดลำพูนดังกล่าว จึงมีแนวคิดการดำเนินการตามกรอปแนวทางการพัฒนาตามแผนแม่บทระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) ด้วยแนวคิด BCG Model ทั้ง 4 ด้านประกอบด้วย
1. ด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
2. ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
3. ด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
4. ด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

ในอนาคตเราคาดหวังว่า การเชื่อมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ จะขยายผลมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ

ในนาม หอการค้าจังหวัดลำพูน ขอต้อนรับทุกท่าน และยินดีที่จะเป็นผู้ประสานงานในการเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุนในจังหวัดลำพูน และเช่นเดียวกัน หอการค้าจังหวัดลำพูน คงจะได้รับโอกาสในความร่วมมือทางการค้า การจับคู่ธุรกิจ การแลกเปลี่ยนทางการค้า การท่องเที่ยว และเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ดุจบ้านพี่เมืองน้องกับประเทศอินเดียในอนาคตต่อไป..นายบรรจงฯกล่าวในที่สุด

กรรณิการ์ วิจิตรสกลการ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน