26/12/2024

สืบนครบาล รวบ บัญชีม้ากลางร้านเสริมสวยหลอกกดรับออเดอร์สินค้า ผ่านแพลตฟอร์มของบริษัทปลอม .

IMG_2195

สืบนครบาล รวบ บัญชีม้ากลางร้านเสริมสวยหลอกกดรับออเดอร์สินค้า ผ่านแพลตฟอร์มของบริษัทปลอม
.
ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์ รรท. รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้ปราบปรามอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เร่งทำการสืบสวนเพื่อติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับเกี่ยวกับคดีออนไลน์
.
เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2566 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์
รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น.,พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฏศรี รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น.,พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ ได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส. นำโดย พ.ต.ท.พิทักษ์ ศรีกะแจะ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ พร้อม ชุดปฏิบัติการที่ 3ได้ร่วมกันจับกุมตัว

น.ส.อลิษา อายุ 31 ปีที่อยู่ 58 ม.7 ต.จอมพร อ.จอมพระ จ.สุรินทร์น.ส.อลิษา อายุ 31 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดสิงห์บุรี ที่ จ.22/2566 ลงวันที่ 30 ม.ค. 66
ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริตหรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” โดยจับกุมได้ที่บริเวณศูนย์การค้า แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
.
จากการตรวจสอบหมายจับในระบบฯ ยังพบหมายจับติดตัวอีก 3 หมาย ดังนี้
1)หมายจับศาลจังหวัดวิเชียรบุรี ที่ 126/2565 ลงวันที่ 14 ก.ย. 65 ข้อหา“ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นโดยทุจริตหรือโดยการหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น”
2)หมายจับศาลจังหวัดทุ่งสง ที่ จ.183/2566 ลงวันที่ 25 พ.ค. 66 ข้อหา“โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และร่วมกันฉ้อโกง””
3)หมายจับศาลจังหวัดยะลา ที่ จ.483/2566 ลงวันที่ 11 ก.ย. 66 ข้อหา“ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง”
.
พฤติการณ์ในคดี กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 ผู้เสียหาย พบประกาศโฆษณาของเพจเฟซบุ๊กชื่อ “Often feel 7″ชักชวนให้ทำงานสร้างรายได้เสริมผ่านอินเตอร์เน็ตผู้เสียหายสนใจจึงเข้าไปติดต่อสอบถามกับแอดมินผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ชื่อ “พลอย” ซึ่งเป็นผู้แนะนำบอกรายละเอียดเกี่ยวกับงานว่าเป็นการสร้างรายได้โดยการกดรับออเดอร์สินค้าให้กับร้านค้าในแอพพลิเคชั่น เช่น Shopee และ Lazada โดยจะทำงานผ่านแพลตฟอร์มของทางบริษัทฯ เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ร้านค้าโดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชั่นตามยอดขายสินค้าที่กดรับออเดอร์ ในขั้นตอนการทำงานนั้นทางแอดมินจะส่งลิ้งค์ให้ผู้เสียหายเข้าไปลงทะเบียนเพื่อสมัครใช้งานแพลตฟอร์มของบริษัทฯก่อน จากนั้นจะให้ผู้เสียหายเป็นผู้เติมเงินเข้าระบบสมาชิกเพื่อเป็นเงินทุนสำรองจ่ายค่าสินค้า ซึ่งทางแอดมินได้ให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี นางสาวรสสุคนธ์ ซึ่งในครั้งแรกๆนั้นผู้เสียหายได้ทำตามขั้นตอนที่แอดมินแนะนำและได้รับผลตอบแทนจริง ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ และแอดมินได้ชักชวนให้ผู้เสียหายทำงานในลักษณะดังกล่าวต่อไปอีก จากนั้นผู้เสียหายจึงโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารเดิมอีกจำนวน 500 บาท แต่ในวันดังกล่าวแอดมินแจ้งว่าแผนการลงทุนในราคา 500 บาท คิวงานเต็มหมดแล้วยังไม่สามารถทำได้มีแต่แผนการลงทุนที่มีจำนวนสูงกว่านี้ จนกระทั่งวันที่ 8 เมษายน 2565 แอดมินจึงได้ส่งข้อความมาชักชวนให้ผู้เสียหายทำงานอีก
โดยในครั้งนี้ได้ให้ผู้เสียหายเข้าไปพูดคุยกับผู้ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ชื่อ “คุณครู ญาณิศา” เป็นแอดมินเพื่อติดต่อขอรับงาน แนะนำขั้นตอนต่างๆรวมทั้งผลตอบแทนในแต่ละระดับให้ผู้เสียหายเลือกว่าจะลงทุนในราคาใด ซึ่งในครั้งนี้ผู้เสียหายตกลงทำแผนลงทุนในราคาเริ่มต้น 500 บาท ซึ่งมีเงินทุนเดิมอยู่แล้วที่โอนเข้าระบบในครั้งก่อนหน้านี้โดยแผนการลงทุนนี้จะต้องรับออเดอร์ทั้งหมด 10 ออเดอร์ผู้เสียหายถึงจะสามารถอนเงินทุนพร้อมผลตอบแทนออกมาได้ จากนั้นผู้เสียหายจึงรับทำงานรับออเดอร์ไปเรื่อยๆต่อมาออเดอร์ในครั้งหลังๆจะมีราคาสินค้าสูงกว่าเงินทุนที่ผู้เสียหายมีอยู่ในระบบสมาชิกแอดมินจึงให้ผู้เสียหายโอนเงินทุนเข้าไปเพิ่มเติม โดยให้โอนเงินไปยังบัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี นางสาวอลิษา (ผู้ต้องหาที่ถูกจับ) ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารดังกล่าว จำนวน 1,500, 4,400 และ 13,000 บาท รวมเป็นเงินที่ผู้เสียหายโอนเข้าไปทั้งหมดจำนวน 19,400 บาท จนถึงออเดอร์ที่10ซึ่งเป็นออเดอร์สุดท้าย
และแอดมินอ้างว่าหากผู้เสียหายทำรายการเสร็จก็จะสามารถถอนเงินทุนพร้อมกับผลตอบแทนออกมาได้
แต่ราคาสินค้าในออเดอร์ที่10 มีราคาสูงกว่าเงินทุนที่ผู้เสียหายมีอยู่ในระบบ
.
จากการซักถามผู้ต้องหาให้การว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ 2564 พบประกาศชักชวนให้เปิดบัญชี ทางเพจเพซบุ๊ก (จำชื่อไม่ได้) ตนจึงอินบล็อกเข้าไปพูดคุย โดยตนได้ตกลงเปิดบัญชีให้ ทั้งทางออนไลน์ และไปเปิดบัญชีที่ธนาคารที่จำได้มีดังนี้ บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาเซ็นทรัล พระรามเก้า (จำหมายเลขบัญชีไม่ได้ )จำนวน 2 บัญชี บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาเซ็นทรัล บางกะปิ ( จำหมายเลขบัญชีไม่ได้) จำนวน 1 บัญชี และยังรับว่า ได้เปิดบัญชี ทั้งเปิดออนไลน์และเปิดที่ธนาคาร รวมประมาณ 10 กว่าบัญชี โดยได้รับค่าจ้างเปิดบัญชี ประมาณ บัญชีละ 700-1,500 บาท
.
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. กล่าวแจ้งเตือนภัยไปยังพี่น้องประชาชนว่าในสังคมปัจจุบัน มิจฉาชีพมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงมากมายหลายรูปแบบ ขอให้ประชาชนได้โปรดใช้สติในการใช้ชีวิตในสังคม อย่าหลงเชื่อกลโกงต่างๆ ของมิจฉาชีพซึ่งมีอยู่มากมาย หากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าบุคคลที่เข้ามาเสนอผลประโยชน์ นั้นจะเป็นมิจฉาชีพ หรือไม่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบ หรือแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด มายังเพจ “สืบนครบาล IDMB” ได้ตลอด 24 ชม. แม้จะเป็นคดีที่มีความเสียหายไม่มาก แต่หากเป็นคดีที่ประชาชนเดือดร้อน เราทำทันที ตามนโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป