ชุมพร – สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลงตรวจสอบสถานที่เก็บสินค้าการเกษตร
ชุมพร – สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดร่วมบูรณาการกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตรวจสอบห้องเย็นที่เป็นสถานที่เก็บสินค้าการเกษตรที่ได้รับอนุญาตถูกต้องมีการขึ้นทะเบียนจากกรมอุตสาหกรรม กรมการค้าภายใน กรมประมง”และโรงงานที่มีการขึ้นทะเบียนสถานที่พักซากสัตว์เอกชน(ต.ร.ซ.)จากกรมปศุสัตว์ เพื่อการแก้ไขปัญหาการนำเข้าและการส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 นายสัตวแพทย์เดชา จิตรภิรมย์ ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ประสานความร่วมมือและบูรณาการ กับนายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดฯ,นายธราพงษ์ มีมุสิทธิ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดฯ นางสาวเกสศินีย์ แท่นนิล ประมงจังหวัดฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ชุมพร,ด่านตรวจประมงชุมพร,ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพรและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดฯ กอ.รมน.จังหวัดฯ มณฑลทหารบกที่ 44 ตำรวจภูธรภาค 8ชุมพร ตำรวจหน่วยสืบสวนชุมพรร่วมประชุมเพื่อวางแผนดำเนินการเข้าตรวจสอบห้องเย็นที่เป็นสถานที่เก็บสินค้าการเกษตรที่ได้รับอนุญาตถูกต้องมีการขึ้นทะเบียนจากกรมอุตสาหกรรม กรมการค้าภายใน กรมประมง”และโรงงานที่มีการขึ้นทะเบียนสถานที่พักซากสัตว์เอกชน(ต.ร.ซ.)จากกรมปศุสัตว์ เพื่อการแก้ไขปัญหาการนำเข้าและการส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย… ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นจำนวน 7 แห่งดังนี้
1.บริษัท ซีเฟรส อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ธัสโก้ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สาขาชุมพร
3.บริษัทห้องเย็นชุมพร จำกัด
4.บริษัท จี แอนด์ เอ ไทยฟรุ๊ต จำกัด
5.บริษัท ไพฑูรย์ สะพลี จำกัด
6.บริษัท ทะเลทรัพย์ฟรีซ ดราย จำกัด
7.บริษัท สวนทวีทรัพย์ ฟู้ด จำกัด
ทั้งนี้ ในการตรวจสอบครั้งนี้ ไม่พบการกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด และเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามมาตรการของกรมปศุสัตว์ และนโยบายรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบสินค้าปศุสัตว์ผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป และจะมีการตรวจสอบเพิ่มเติมในวันที่ 9 และ 10 ตามแผนการดำเนินการอีก 10 แห่งด้วยกัน ตามที่มีข้อมูลการลักลอบนำเนื้อและชิ้นส่วนสุกรเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงสุกรทั้งทางด้านราคาสุกรตกต่ำเนื่องจาก ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการในตลาดและที่สำคัญเนื่องจากมาตรการของกรมปศุสัตว์ที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยมีรายงานพบอุบัติการณ์ของการเกิดโรคอหิวาแอฟริกาในสุกรลดน้อยลงดังนั้นการลักลอบนำเนื้อและชิ้นส่วนสุกรเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรอุบัติการณ์ของการเกิดโรคจะมากขึ้นอันเนื่องมาจากความเสี่ยงที่จะนำโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรจากประเทศต้นทางเพื่อเข้ามาภายในประเทศไทยได้ซึ่งเนื้อหรือชิ้นส่วนของสุกรที่ลักลอบเข้ามาขายในประเทศไทยอาจจะมาจากประเทศที่ยังมีการเกิดโรคระบาดโดยไม่ได้รับการตรวจสอบและอาจมีการปนเปื้อนของโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนรวมถึงสารเร่งเนื้อแดงที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายขับเคลื่อนยุทธการปราบปรามการลักลอบนำเข้าส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมายซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แก่กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลป้องกันและปราบปรามการลักลอบสินค้าปศุสัตว์ผิดกฎหมายกรมปศุสัตว์จึงให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการเข้าตรวจสอบห้องเย็นให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศโดยให้ปศุสัตว์อำเภอปศุสัตว์จังหวัดด่านกักกันสัตว์ในพื้นที่ดำเนินการตรวจสอบห้องเย็นตามนโยบายการขับเคลื่อนของกรมปศุสัตว์และประสานความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กอ.รมนจังหวัด สถานีตำรวจภูธรจังหวัด เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารจากมณฑลทหารบกที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514