23/01/2025

“วิธีสังเกตยาสเตียรอยด์” !! ภัยร้าย !! ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

q2_0

“วิธีสังเกตยาสเตียรอยด์” !! ภัยร้าย !! ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด


นพ.สุนทร ศรีสุวรรณ์ อาจารย์แพทย์กลุ่มงานศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวถึง ปกติแล้ว สารสเตียรอยด์(Steroid)เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกายมนุษย์สามารถสร้างได้จากต่อมหมวกไตชั้นนอก ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการต่างๆในร่างกายมนุษย์ เช่น ลดอาการปวด ลดการอักเสบ ควบคุมความสมดุลของระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย โดยร่างกายจะผลิตสารสเตียรอยด์และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
ทางการแพทย์ มีการใช้ยาสเตียรอยด์ที่สังเคราะห์ขึ้น(Corticosteroids)เพื่อประโยชน์ในการรักษาเป็นเรื่องปกติ แต่จะใช้ในบางโรคที่มีความจำเป็นเท่านั้น และต้องอยู่ในการควบคุมปริมาณการใช้ยา จากแพทย์อย่างใกล้ชิด


แต่ในปัจจุบัน มียาสเตียรอยด์สังเคราะห์มากมายในท้องตลาด หลากหลายรูปแบบสารสเตียรอยด์ที่ได้จากการสังเคราะห์สามารถออกฤทธิ์ได้หลากหลายระบบ และมีประสิทธิผลในการรักษาสูง จึงทำให้การใช้ยาในระยะแรก ผู้ป่วยมักจะมีอาการดีขึ้น และหายจากอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันในด้านโรคกระดูกและข้อ มีการนำยาสเตียรอยด์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยหวังผลให้คนไข้ หายปวดได้ดีและเร็วขึ้น เพื่อให้คนไข้สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ และทำให้ผู้ป่วย นิยมกลับมาใช้ยา
กลุ่มนี้ซ้ำด้วยตัวเอง เมื่อมีอาการปวด ตามกล้ามเนื้อ , กระดูกและข้อ
โดยที่คนไข้คาดไม่ถึงว่าการใช้ยาสเตียรอยด์ เช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดผลเสียที่รุนแรงต่อร่างกายจากการรับสารสเตียรอยด์กึ่งสังเคราะห์โดยไม่จำเป็น


!!ภัยร้ายของสเตียรอยด์ !!

1.ออกฤทธิ์ไปกดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้งระบบ ทำให้ร่างกายมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เช่น หากคนไข้เกิดบาดแผล จะมีผลทำให้แผลหายได้ช้าลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงการต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง
2. เร่งให้ร่างกายเกิดภาวะ กระดูกพรุนได้เร็วขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกแตกหักในอนาคต
3.ผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยาต่อเนื่องระยะยาว จะเพิ่มโอกาสทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่ออย่างรุนแรงในอนาคต
4. ทำให้ผิวเยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง เสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
5. ในผู้ป่วยเบาหวานจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ยากขึ้น
6. ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะมีผลทำให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้นและมีอาการบวม เนื่องจากยาสเตียรอยด์มีผลทำให้ร่างกายขับน้ำออกได้ลดลง ทำให้ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ยากขึ้น


7.เพิ่มความอยากอาหารทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
8.ในคนไข้บางรายอาจมีอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย
9.ในรายที่ใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีผลทำให้เกิดภาวะคุชชิ่ง ซินโดรม [ Cushing Syndrome ] ทำให้คนไข้มีลักษณะใบหน้าจะกลมเหมือนพระจันทร์ , มีเนื้อพอกตรงบริเวณคอ , ร่างกายบวมฉุ และมีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังบริเวณหน้าท้องหรือต้นขา
วิธีสังเกตยาสเตียรอยด์
[ กรุณา ดูรูปประกอบ ]
ยาสเตียรอยด์แบบเม็ด ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภทคือ


1. ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) ขนาด 5 มิลลิกรัม เป็นยาเม็ดกลมขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร สีที่นิยมใช้กันคือ สีขาวและสีชมพู อาจมีตัวเลข 5 หรือ อักษรภาษาอังกฤษ P อยู่บนเม็ดยา
2. ยาเด็คซ่าเม็ดทาโซน(Dexamethasone)
อาจมีขนาด 4 หรือ 5 มิลลิกรัม มีลักษณะ 2 แบบ คือ เป็นเม็ดกลม หรือ เม็ดรีขนาดเล็ก มีหลายสี อาจมีตัวเลข 4 มิลลิกรัม อยู่บนเม็ดยา มีความหลากหลายของรูปแบบเม็ดยามากกว่ายาเพรดนิโซโลน


ทั้งนี้ยาสเตียรอยด์ จริงๆแล้วเป็นยาที่มีคุณและประโยชน์มากมาย ควรใช้ยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่เหมาะสมเท่านั้น ในผู้ป่วยบางรายและบางโรคก็มีความจำเป็นต้องทานยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จึงขอแนะนำให้ทำการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก ภ.ญ. อรวริญญ์ วชิรสินไพศาล
ภาพประกอบจาก
Drug Iden : UBU
หาความรู้เพิ่มเติมได้ที่
www.thedoctorbone.com

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป