15/11/2024

นครนายก – อบต.สาริกา ผุดไอเดียนำขยะอันตรายมาแลกไขไก่ ลดปริมาณขยะในพื้นที่

องค์การบริการส่วนตำบลสาริกา ผุดไอเดียให้ชาวบ้านน้ำขยะอันตรายมาแลกไข่ไก่ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะ เนื่องจากขยะอันตรายไม่สามารถ ทิ้งปนไปกับขยะทั่วไปได้

ที่องค์การบริหารส่วนตำบลสาริกา ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก นายชุมพลภัทร์ เลาหะพานิช นายก อบต.สาริกา นางสาวศิริรัตน์ กำพุด หัวหน้าสำนักปลัดฯอบต.สาริกา พร้อมเจ้าหน้าที่ตั้งโต๊ะรับแลกขยะอันตราย จากชาวบ้านในชุมชนอบต.สาริกา ที่นำขยะอันตรายที่ทาง อบต.ระบุไว้มาแลกไข่ไก่ โดยขยะที่สามารถนำมาแลกได้ จะเป็น ถ่านไฟฉาย / หลอดไฟ / ไฟตกแต่ง ไฟประดับ แบตเตอรี่โทรศัพท์เก่า ตลับหมึก กระป๋องสเปย์ โดยมีชาวบ้านที่ทราบข่าวได้นำขยะมาแลกไข่ไก่ที่หน้าอบต.ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยทางอบต.ได้เปิดให้บริการทุกวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 09.30 -12.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566- 30 กันยายน 2567

นายชุมพลภัทร์ เลาหะพานิช นายก อบต.สาริกา บอกว่า โครงการนี้เป็นโครงการนำขยะอันตรายแลกไข่ไก่ เป็นโครงการที่มีอยู่เดิมก่อนแล้วโดยมีนางสาวศิริรัตน์ กำพุด หัวหน้าสำนักปลัดฯเป็นคนคิดโครงการตอนแรกก่อนที่ตนจะเข้ารับตำแหน่งนายกอบต. ตนเห็นว่าดีจึงให้มีการทำโครงการนี้ต่อไปเพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสาริกา อีกทั้งเป็นการนำขยะไปทำลายได้อย่างถูกวิธี

ขณะที่ตำบลสาริกาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว ทำให้มีปริมาณขยะที่ค่อนข้างเยอะ นางสาวศิริรัตน์ กำพุด หัวหน้าสำนักปลัดฯจึงได้มีโครงการผ้าป่าขยะ โดยให้ชาวบ้านในพื้นที่นำขยะพลาสติก ขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลขายเป็นเงินได้ให้นำมาบริจาคที่อบต.สาริกา จากนั้นจะนำขยะไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำมาเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนและเยาวชนในตำบลสาริกา
ทั้งนี้ตนอยากให้ทุกคนในพื้นที่ตำบลสาริกาช่วยกันดูและคัดแยกขยะ เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะ เนื่องจากปัจจุบันอบต.สาริกาต้องสนับสนุนเงินทุนในการจัดเก็บขยะกว่า 2 ล้านบาทในแต่ละปี ฉะนั้นหากช่วยกันทำให้ปริมาณขยะลดลงก็จะเหลืองเงินไปลงทุนในโครงการสร้างพื้นฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนตำบลสาริกาต่อไป

ด้านนางอำไพ หัสสา อายุ 66 ปี ชาวบ้าน หมู่11 ตำบลสาริกา ที่ทราบข่าวและนำขยะมาแลกไข่ บอกว่า วันนี้ตนนำหลอดไฟกับถ่านไฟฉายมาแลกไข่ ได้ถึง 11 ฟอง ตนรู้สึกว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก ที่ได้นำขยะมาแลกไข่ ดีกว่านำขยะพวกนี้ไปทิ้งอีกทั้งอาจจะเป็นอันตรายต่อคนทั่วไปหรือพนักงานเก็บขยะที่อาจจับหลอดไฟที่แตกทำให้เป็นบาดแผลฉกรรจ์ได้ เมื่อนำขยะมาแลกไข่เราก็ได้อาหาร ที่มีสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ทั้งนี้ตนอยากให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงคนในชุมชน รวมถึงผู้เฒ่าผู้แก่ที่เข้าไม่ถึงสื่อสังคมออนไลน์ก็อยากให้มีการบอกต่อให้ทราบ

สำหรับที่มาของโครงการนี้เกิดจากที่ปัจจุบันปัญหาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะหลายแห่งของประเทศไทยกําลังเข้าขั้นวิกฤติรวมถึง ทุกวันนี้ในพื้นที่ตําบลสาริกาจะมีขยะจากการอุปโภคบริโภคและจากนักท่องเที่ยวถึงวันละ10-12 ตันต่อวัน ทําให้มีปริมาณขยะเกิดขึ้นมากมายอีกทั้งองค์การบริหารส่วนตําบลสาริกา ไม่มีที่ทิ้งขยะเป็นของตนเอง ทําให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในทางกําจัดขยะเป็นจํานวนมาก การบริหารจัดการขยะมูลฝอยตามแนวคิดที่ว่า การจัดการขยะ มูลฝอย ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้น จําเป็นที่จะต้องมีการจัดการที่เป็นระบบและมีกระบวนการ นับตั้งแต่ การลดปริมาณขยะมูลฝอยจากต้นทาง โดยอาศัยความร่วมมืออันดีจากประชาชนในฐานะเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ทิ้งขยะ มูล ฝอย ตลอดจนการนําขยะไปกําจัดต้องมีวิธีการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนตําบลสาริกา ได้เล็งเห็นความสําคัญในด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในชุมชนจึงได้มีแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยถือว่าชุมชนที่มีส่วนร่วมสําคัญยิ่งในการขับเคลื่อน ชุมชน ตั้งแต่ในระดับครอบครัว ให้เห็นความสําคัญและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะ ครัวเรือนของตนเอง โดยลดการใช้ (Reduction) การนําากลับมาใช้ใหม่ (Reused) และการนํากลับมาใช้ใหม่โดยผ่าน กระบวนการอุตสาหกรรม (Recycle) จึงได้ดําเนินการจัดทํากิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ เพราะขยะอันตรายไม่สามารถ ทิ้งปนไปกับขยะทั่วไปได้ เนื่องจากขยะอันตราย คือขยะที่มีผลร้ายแรงหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

หรือสิ่งแวดล้อมของเสียอันตรายที่มีลักษณะเฉพาะคือวัสดุที่ทราบหรือทดสอบแล้วว่ามีลักษณะอันตรายอย่างน้อยหนึ่ง อย่างต่อไปนี้ ความสามรถในการติดไฟ ปฏิกิริยาการกัดกร่อน ความเป็นพิษ และรู้จักแยกขยะแต่ละประเภทได้ถูกต้อง ในชีวิตประจําวัน โดยการปฏิบัติจริง และสร้างแรงจูงใจโดยการนําขยะอันตรายมาแลกไข่ ทําให้ขยะอันตรายลดปริมาณ ลงได้

โดยโครงการการขยะอันตรายแลกไข่นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะอันตราย ที่เป็นอันตรายจากชุมชน และแยกออกจากขยะทั่วไปนํามากําจัดขยะได้ถูกวิธี / ปลูกจิตสํานึกและรณรงค์ให้ประชาชนมีความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการปฏิบัติได้รับรู้และมีประสบการณ์จริง / เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคัดแยกขยะอันตรายออกจากชุมชน ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดนครนายก และนําไปกําจัดอย่างถูกวิธี และ ลดปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชน ที่เกิดจากขยะอันตรายในชุมชน

 

สมบัติ เนินใหม่//รัชชานนท์ เนินใหม่//ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครนายก

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป