22/12/2024

# สยามพระเครื่องสุดสัปดาห์ # ชมพระวันนี้

IMG_3985

# สยามพระเครื่องสุดสัปดาห์ # ชมพระวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 # กินลม ชมพระ สัปดาห์นี้กระผมจะพาท่านไปชม พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ใหญ่ เนื้อทุเรียนกวน หน้าตักกว้างประมาณ 2 ซม. เริ่มสร้างครั้งแรกเมื่อประมาณปี พศ.2364 จนถึงปี พศ.2419 ซึ่งเป็นปีที่หลวงพ่อท่านมรณะภาพ ได้รับการยกย่องเป็นพระปิดตาอันดับ 1 ที่หายากมากๆอีกทั้งมีค่านิยมสูงสุดของไทยเช่นกัน เท่าที่ทราบมาองค์สวยๆน่าจะเป็นหลักร้อยๆล้านเข้าไปแล้ว จนมีผู้กล่าวขานถึงพระปิดตาของท่านว่า “ไม่ใช่ว่ามีเงินอย่างเดียวแล้วจะหาหลวงพ่อท่านมาครอบครองได้ ” แต่ต้องมีบุญบารมีมากเพียงพอด้วย…   มาชมองค์พระกันต่อครับ ด้านหน้าองค์พระเป็นพระปิดตาพิมพ์สังกัจจายน์ บริเวณหน้าตักจะอ้วนและสูงมาก โดยเนื้อและสีผิวขององค์พระดูเนียนละเอียดสวยงามมาก คล้ายเนื้อทุเรียนกวนองค์พระกดพิมพ์จากแม่พิมพ์ จึงเห็นกรอบแม่พิมพ์ที่สวยและสมบูรณ์ และเป็นตำหนิของแม่พิมพ์ สำหรับพิมพ์พระเป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านบนโค้งตามทรงพระเศียร หัวเข่าทั้งสองข้างกลมมนเป็นทรงหัวเข่า ถ้ากรอบแม่พิมพ์ผิดไปจากรูปทรงสามเหลี่ยมนี้ จะถือเป็นพระที่ผิดพิมพ์ทันที โดยมือทั้งสองข้างป้องหน้าเป็นมืออูมๆมีร่องตรงกลางไม่มีนิ้วมือ พระกรรณทั้งสองข้างเป็นสันตรงข้างๆพระเศียร โดยมีขอบของกรอบแม่พิมพ์มนโค้งติดพระกรรณทั้งสองข้าง เหมือนใส่ซาวเบ้าท์ ไหล่ทั้งสองข้างหนาใหญ่มาก แขนงอขึ้นบนจะเป็นสับลึกหดตัวตั้งฉาก ท้องนูนเป็นทรงพระสังกัจจายน์ แต่ไม่มีสะดือ ปิดทองคำเปลวกลางองค์พระ พระบาทขวาอ้วนใหญ่และสูงวางซ้อนพระบาทซ้าย ปลายฝ่าพระบาทขวาหงายขึ้น ส่วนพระบาทซ้ายจะชอนซ้อนอยู่ใต้พระบาทขวา ปลายฝ่าพระบาทหงายขึ้นเช่นกัน พระบาทที่วางซ้อนกันจะมีร่องลึกตั้งฉากคมมาก ผิวเป็นเนื้อผงเนียนละเอียด ส่วนด้านหลังเป็นเนื้อผงที่เนียนละเอียดมาก เช่นกัน กลางองค์จะมีรอยแม่พิมพ์ของพระปิดตาตัวผู้พิมพ์กลางกดลึก เพื่อให้พิมพ์ด้านหน้าลึก และไม่มีฟองอากาศ และองค์ที่ทุกท่านได้รับชมอยู่นี้ได้รับความเอื้อเฟื้อจากคุณยศพัทธ์ พิภพสิทธิโภคิณ CEO บริษัทในเครือ ZEUS CORPORATION ที่ได้อนุญาตให้นำองค์พระมาให้ถ่ายทอดพุทธลักษณะต่างๆแก่ทุกท่านได้ชม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านคงได้ประโยชน์ในการจดจำพิมพ์ทรง-เนื้อหารวมถึงตำหนิต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาในการหาพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ กันครับ # ผู้ช่วยศาสตราจารย์.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ