เชียงใหม่-เปิดการประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย 2566 เชียงใหม่ ระดับเยาวชน รอบคัดเลือก
เชียงใหม่-เปิดการประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย 2566 เชียงใหม่ ระดับเยาวชน รอบคัดเลือก
วันที่ 22 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น. ที่ เฮือนแก้ววิจิตร แอนด์ แกลลอรี่ บ้านวังน้ำริน จังหวัดเชียงใหม่ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย 2566 เชียงใหม่ ระดับเยาวชน รอบคัดเลือก ในโอกาสครบรอบ 76 ปี สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย เชียงใหม่ โดยมีนางรุ่งอรุณ ชัยสวัสดิ์ รองนายกเหล่ากาชาด จ.เชียงใหม่ เจ้าเจือจันทร์ ณ เชียงใหม่ ประธานจัดการประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย เชียงใหม่ กล่าววัตถุประสงค์ พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ สมาคมฯ สมาชิกสมาคม ผู้มีเกียรติ และผู้สนใจ เข้าร่วมงานจำนวนมาก
นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ซอพื้นบ้านถือว่าเป็นอัตลักษณ์ ที่มีคุณค่า ที่งดงาม เป็นการร้อยเรียง เรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยส่วนตัวเป็นคนเชียงใหม่ ได้เห็นบรรยากาศแบบนี้ เป็นบรรยากาศที่มีความสุข และวันนี้มาให้กำลังใจพี่น้อง เยาวชน ในนามของจังหวัดเชียงใหม่ดีใจ ที่ได้เห็นลูกหลาน เยาวชน สามารถที่จะแสดงออกในเรื่องของการเล่าขานตำนาน ผ่านการจ้อย การซอ ไม่ใช่เฉพาะคนรุ่นเก่าๆอย่างเดียว คนรุ่นใหม่ก็ให้ความสนใจและทำได้
ต้องขอบคุณสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย เชียงใหม่
ที่ได้เปิดเวทีให้พี่น้องคนภาคเหนือได้มีโอกาสแสดงออก ได้มีโอกาสสืบสานวัฒนธรรมที่งดงาม ก็ต้องขอบคุณทุกภาคส่วน และที่สำคัญที่สุดขอบคุณพี่น้องประชาชนคนเชียงใหม่ คนพื้นที่ภาคเหนือที่มาร่วมกิจกรรมอันงดงามแห่งนี้
นางเจือจันทร์ ณ เชียงใหม่ ประธานจัดการประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย เชียงใหม่ กล่าวว่า สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย เชียงใหม่ จัดประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย 2566 เชียงใหม่ ระดับเยาวชน เนื่องในโอกาส ครบรอบ 76 ปี สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย เชียงใหม่ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17.00-21.00 น ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านลานนาไทย
การจัดประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย ฯครั้งนี้ มีเยาวชนให้ความสนใจสมัครเข้าประกวด เป็นจำนวนมาก เกินความคาดหมาย จำนวน 14 ทีม ดังนั้นจึงได้จัดให้มีการประกวด รอบคัดเลือก ขึ้น โดยมติของที่ประชุม จะคัดให้เหลือเพียง 5 คณะซอ แต่ในวันนี้รู้สึกดีใจและปลาบปลื้มใจที่เห็นช่างซอเยาวชน ให้ความสนใจ มาช่วยกันสืบสานตำนานปี่ซอ ตำนานช่างซอ จึงคัดเลือกให้เหลือ 7 คณะซอ
ทั้งนี้แบ่งการประกวด เป็นภาคเช้า 7 ทีมภาคบ่าย 7 ทีม ผลการประกวดคณะซอ ที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้แก่ 1.สองสหรี 2.ดาวล้านนา 3.สุวิทย์ลำจวน 4.เสียงซอป่าซาง 5.แซมจูเนียร์ 6.เพชรป้าวล้านนา 7.เก็ดถวา ซึ่งจะมีการประกวดรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
สำหรับคณะกรรมการตัดสินการประกวดดังกล่าว ประกอบด้วย นายนพพร นิลณรงค์ ประธานสถาบันหริภุญชัย ประธานกรรมการตัดสิน ,รศ.รังสรรค์ จันต๊ะ ผู้เชี่ยวชาญด้วยภาษาและวรรณกรรม ม.ราชภัฎ เชียงใหม่ รองประธานกรรมการตัดสิน ร่วมตัดสิน รอบชิงชนะเลิศ วันที่19 พฤศจิกายน 2566 สำหรับในวันที่ 22 ตุลาคม 2566 มอบหมายให้ อ.สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมคัดเลือกแทน
,ดร.ประพันธ์ แก้วเก๋ ศิลปินดีเด่นสาขาศิลปการแสดง เพชรราชภัฏเพชรล้านนาภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา กรรมการตัดสิน ,นายเฉลิมเวศน์ อุปธรรม (ศรีหมื่น เมืองยอง)รางวัลเพชรราชภัฎล้านนา-นักวิชาการชำนาญการพิเศษ กรรมการตัดสิน ,นางเอื้องคำ รัตนกุล เพชรราชภัฏเพชรล้านนาภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา กรรมการตัดสิน ,นายภานุทัต อภิชนาธง ครูแอ๊ด เพชรราชภัฏเพชรล้านนาภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา มช. ฯลฯกรรมการตัดสิน ,นายวิศิษฏ์ ชัยวงศ์ กรรมการตัดสิน , นางทัศนีย์ แสนจาย ผู้รวบรวมคะแนน
พัฒนชัย/เชียงใหม่