15/11/2024

พุทธาภิเษก รูปเหมือนพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ขนาด29นิ้วประดิษฐานในอุโบสถวัดธาตุน้อย วัดธาตุน้อย อำเภอช้างกลาง นครศรีธรรมราช

พุทธาภิเษก รูปเหมือนพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ขนาด29นิ้วประดิษฐานในอุโบสถวัดธาตุน้อย

วัดธาตุน้อย อำเภอช้างกลาง นครศรีธรรมราช

 

วันที่ 14 ตุลาคม 2566 เวลา ๑๓.๒๙นาที ณ วัดธาตุน้อย อำเภอช้างกลาง นครศรีธรรมราช

พระครูถาวรพิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ร่วมกับคณาจารย์ทั่วประเทศ

พุทธาภิเษก

รูปเหมือน พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

พระครูพิสิษฐ์อรรถการ

ขนาด29นิ้ว

ประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดธาตุน้อย

ประธานจัดสร้าง นพ.สวรรค์ กาญจนะ ร่วมกับพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

พิธีร่วมกับอีกสี่ปรากฎการ

1.หล่อพระพุทธสิหิงส์

ขนาด49นิ้ว

2.พุทธาภิเษกพ่อท่านคล้ายรุ่นกฐิน๑

วัดพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์เขาสูรย์

3.เททองเหลืองไว้หล่อพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

ขนาด59เมตร ไว้ที่วัดพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์เขาสูรย์

กำหนดการ

เวลา6.39พิธีพราหมณ์จากสำนักพระราชวัง

พิธีเริ่ม13.29จุดเทียนชัย

เวลา15.29พิธีดับเทียนชัย

 

14ตุลาคม2566

 

พิธีพุทธาภิเษก

รูปเหมือน

พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

 

วันเสาร์ที่๑๔ ตุลาคม๒๕๖๖

ณ วัดธาตุน้อย อำเภอช้างกลาง

นครศรีธรรมราช

 

เเบิกเนตรพุทธาภิเษกรูปหล่อพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ)

วัดธาตุน้อย อำเภอช้างกลาง นครศรีธรรมราช.

 

สวยงามเสร็จสมบูรณ์ ๑๐๐เปอร์เซนต์

ปิดทองคำแท้หนา

พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์ ขนาด๒๙นิ้ว ทองเหลืองปิดทองคำแท้

วัดธาตุน้อยนครศรีธรรมราช

 

เคลื่อนสู่วัดธาตุน้อย

วันที่๑ สิงหาคม๒๕๖๖

 

ประวัติ การจัดสร้าง

 

เริ่มสร้าง มีนาคม ๒๕๖๖

 

เททอง ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ณ โรงหล่อวิเชียร นครปฐม

พิธีสงฆ์

พระครูสุจิณธรรมรส ประธาน

 

พิธีพราหมณ์

คุณ ศักดาเดช อนุมาศ

 

ประธานสงฆ์ที่ปรึกษา

 

พระครูสุจิณ ธรรมรส เจ้าอาวาสวัดเขาบ่อชุมพร

 

ประธานสงฆ์

 

เจ้าอาวาส วัดธาตุน้อย พระครูถาวรพิสุทธิ์

 

ประธานจัดสร้าง

 

นายแพทย์สวรรค์ กญจนะ

ร่วมกับพุทธศาสนิกชน ทั่วประเทศ

 

ปฏิมากร

ผศ .ดร.ฐิติพันธ์ จันทร์หอม

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

 

มวลสาร

มอบโดยคุณศักดาเดช อนุมาศ พี่โกอ้วน

1.พระรูปหล่อ พระกริ่ง ปวเรศ

2.พระรูปหล่อโปราณพิมพ์หลังเตารีดใหญ่ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปี พ.ศ. 2505

3.พระรูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

4.พระรูปหล่อโปราณ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ก้น อุ ปี พ.ศ. 2505

5.ผงเหล็กไหล ไพลดำ

6.เหล็กไหล เงินยวง

7.เหล็กไหล เขาอึมครึม กาญจนบุรี

8.เหล็กไหล เกาะล้าน ชลบุรี

9.ข้าวตอกพระร่วง

10.เหล็กน้ำพี้

11.ผงเพชรหน้าทั่ง

12.ผงแร่เศรษฐี

13.ประคำเหล็กไหล ไพลดำ

 

มวลสารที่รวบรวม

1.เหรียญเกจิอาจารย์

2.ทองเหลืองล้นเบ้า วัดธาตุน้อย มอบโดยเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย

3.เหล็กไหลไพลดำ หินสามสี พระรามราช โต นายบงกช คงยืน

เทวดาน้อย มอบให้

4.เหรียญจตุคามบารมีปกเกล้า

5.ทองเหลืองล้นเบ้า พ่อท่านคล้ายสุขาโต วัด กม 7

6 พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

7 พญาครุฑ

8 หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

9 ตาปะขาว วัดภูเขาทอง พัทลุง

10 ตาไข่

11 หินสามสี

12 หลวงพ่อเดิม นครสวรรค์

13 เหรียญ รศ ๑๒๗

14 หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

15 หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า

16 พระพุทธชินราช

17 กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

18 พระนาคปรก

19 หลวงปู่ทิม อิสริโก

20 หลวงปู่ทวด

21 หลวงปู่จง

22 หลวงพ่อพรหม

23หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง

24.หลวงปู่ไข่

25.หลวงพ่อแดง

26.หลวงปู่ทวดปลอดโรคปลอดภัย917

27.หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี

28.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

 

ประวัติ

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ)

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2417 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง มรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ)

ชื่ออื่นพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ส่วนบุคคลเกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2417 (96 ปี)มรณภาพ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513

นิกายมหานิกาย

ตำแหน่งชั้นสูง

ที่อยู่

วัดสวนขัน,วัดพระธาตุน้อย นครศรีธรรมราช

อุปสมบท

10 กรกฎาคม พ.ศ. 2437

พรรษา

76 พรรษา

ตำแหน่ง

เจ้าอาวาสวัดสวนขัน และ วัดพระธาตุน้อย

ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก

 

เมื่ออายุ 15 ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

 

ขาของพระครูพิศิษฐ์อรรถการนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจัน เจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพระครูพิศิษฐ์อรรถการสามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ

 

เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ ณ วัดวังม่วง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช โดยมี พระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี

 

ตามประวัติ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ท่านมีความเคารพนับถือ พระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่เคยพบเห็นหน้าตากันมาก่อนเลยก็ตาม พระเกจิอาจารย์ท่านนั้นคือ หลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ตอนที่ หลวงพ่อเฟื่อง มรณภาพ ก็ได้ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ นี้แหละ เป็นผู้นำอัฐิของ หลวงพ่อเฟื่อง ขึ้นไปบรรจุไว้บน เจดีย์วัดคงคาเลียบ ที่ตั้งตระหง่านสูงเด่นอย่างสวยงามอยู่ริมถนนสายเอเซีย หาดใหญ่-พัทลุง ตราบเท่าทุกวันนี้

 

การศึกษา

 

พระครูพิศิษฐ์อสารสาสน์ประชาอุทิศ

 

ผลงานและเกียรติคุณ

 

ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พระครูพิศิษฐ์อรรถการ

 

ตำแหน่ง

 

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. 2445 จนมรณภาพ

เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ. 2500 เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว

 

ผลงานที่สำคัญ

 

งานด้านศาสนา

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่น

 

สร้างวัด พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง เมื่อ พ.ศ. 2445 จนมรณภาพ แต่เมื่อ พ.ศ 2500 ท่านยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยอีกด้วย เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ชาวบ้านได้สร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพระครูพิศิษฐ์อรรถการ และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2513 และแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส พระครูพิศิษฐ์อรรถการมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ..ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวาร หรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. 2490พ.ศ. 2500 ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอนจึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม

 

สร้างพระเจดีย์ พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร

 

พ่อท่านคล้ายได้รับนิมนต์เพื่อไปช่วยเหลือวัดกลางเก่า(บ้านดอน) อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี ที่ถูกไฟไหม้เป็นเวลา ๔ วัน ๔ คืน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๖ และได้นำรูปกระจกมาแจกเพื่อให้ญาติโยมได้ทำบุญช่วยเหลือวัดกลาง มีข้อความระบุบนรูปกระจกว่า “ให้เป็นที่ระลึกในการช่วยเหลือวัดกลาง ๓๐ ตุลาคม ๒๔๙๘” สมัยนั้นหากพ่อท่านมีกิจนิมนต์ในละแวก อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี พ่อท่านมักจะมาจำวัดที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน) โดยในสมัยนั้นที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน)มีเจ้าอธิการพระมหายุตต์ ธมฺมวิริโย เป็นเจ้าอาวาสและเป็นสหธรรมิกกับพ่อท่านคล้าย ซึ่งต่อมาท่านได้สร้างพระเครื่องและพ่อท่านคล้ายได้มาร่วมทำการปลุกเสกด้วย อีกทั้งพ่อท่านได้เคยมาปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่วัดกลางเก่า(บ้านดอน) ซึ่งปัจจุบันยังคงปรากฏให้เห็นอยู่

 

งานด้านพัฒนาท้องถิ่น

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น

 

สร้างถนนเข้าวัดจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน

ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปนาแว

ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย

สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน

สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว

สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม

สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น

ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

 

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพระครูพิศิษฐ์อรรถการได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน “ขอให้เป็นสุข เป็นสุข” ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย

 

ความวาจาสิทธิ์ ของท่าน

 

มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไป จังหวัดชุมพร ท่านต้องขึ้นรถไฟที่สถานีคลองจันดี สมัยนั้นยังเป็นรถไฟหัวจักรไอน้ำ ท่านลืมสังฆาฎิที่บ้านญาติโยมในตลาดจันดี พอดีรถไฟที่ท่านจะต้องขึ้นกำลังเปิดหวู้ดจะออก ท่านบอกให้เด็กวัดที่ไปกับท่านไปเอาสังฆาฏิ ที่บ้านญาติโยม ในตลาดจันดี เด็กที่ไปกับท่านบอกว่า ไม่ทันแล้วพระครูพิศิษฐ์อรรถการ รถจะออกแล้ว พอท่านกล่าวว่า ไปตะ รถไฟมันรอ สิ้นคำพระครูพิศิษฐ์อรรถการรถไฟออก แต่ออกไปไม่ได้ รถล้อฟรี นี้คือความวาจาสิทธิ์ของท่าน

 

มีอยู่คราหนึ่ง มีโจรเข้ามาขโมยโกร่ง (ตู้รับบริจาค) ในวัดธาตุน้อยและมีคนมาบอกพระครูพิศิษฐ์อรรถการ พระครูพิศิษฐ์อรรถการกล่าวว่า ไซรมั่นเหล่า เดี่ยวก็เอามาคืนปรากฏว่าโจรนำออกไปนอกวัดไม่ได้เลยเดินวนเวียนหลายหน เห็นรอบวัดมีแต่น้ำไปหมด

 

คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพระครูพิศิษฐ์อรรถการก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด

มรณภาพ

 

พ่อท่านคล้ายหรือพระครูพิศิษฐ์อรรถการ เมื่อครั้นถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2513 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน12 ปีจอ พ่อท่านจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ เนื่องในงานพุทธาภิเษกที่คณะพุทธบริษัท จังหวัดนั้นนิมนต์ใว้ เวลา 16.00 น. ของวันเดินทาง คณะศิษย์เป็นว่าพ่อท่านอาพาธกะทันหัน จึงนิมนต์พ่อท่านขึ้นรถด่วนเข้ากรุงเทพ ถึงวันรุ่งขึ้นได้นำพ่อท่านเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎในวันนั้น แพทยืได้พยายามรักษาจนเต็มความสามารถ เป็นเวลา 14 วัน อาการมีแต่ทรงกับทรุด ครั้งถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา 23.05 น. พ่อท่านคล้าย มรณภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

 

#สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริงสำคัญว่าจะปรากฎให้ใครเห็น

#อนุโมทนาบุญุทุกท่าน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป