10/11/2024

สระบุรี/ ชาวบ้าน ตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีโวยทำประชาคม ”มั่ว จนล่ม ” แจงสร้างโรงงานคัดแยกวัสดุเพื่อผลิต RDF ไม่ชัดเจน

สระบุรี/ ชาวบ้าน ตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีโวยทำประชาคม ”มั่ว จนล่ม ” แจงสร้างโรงงานคัดแยกวัสดุเพื่อผลิต RDF ไม่ชัดเจน

 


ณ.ที่บริเวณศาลาอเนกประสงศ์ ริมถนนในหมู่บ้าน (ซับนางเลิ้ง) หมู่ 7 ตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ได้มีบริษัท (เอกชน) แห่งหนึ่ง หจก.เอเอสพี บิลติ้ง ได้เชิญชาวบ้าน ( ม.7) และใกล้เคียงเข้าร่วมประชุมประชาคม เพื่อรับฟังความคิดเห็นในกรณีที่ บริษัท เอกชนฯ จะเข้ามาตั้งโรงงานประกอบกิจการคัดแยกวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้ว ที่ไม่เป็นของเสียและอันตรายลำดับที่ 105 และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียขากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม ลำดับที่ 106 ณ.โฉนดที่ดินเลขที่ 37463 ต.นายาว อ.พรพุทธบาท จ.สระบุรี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการขออนุญาติประกอบกิจการ โดยมีชาวบ้าน พากันมาลงชื่อเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก


ซึ่งทางฝ่ายโรงงานมี ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) กล่าวกับชาวบ้านว่า ตนพูดไม่เก่ง ขอให้นายปฐมวงศ์ ก่ำวงศ์ เป็นผู้แทน ขึ้นกล่าวชี้แจงวัตถุประสงศ์การทำประชาคมในครั้งนี้ กับชาวบ้าน แต่ด้วย ข้อมูลและรายละเอียดฝ่าย ผู้ประกอบการไม่ชัดเจน อีกทั้งนายปฐมวงศ์ฯ อธิบายไม่ลงลึกถึงข้อมูลกล่าวเพียงสั้นๆ แล้ว ถามชาวบ้านทันที ว่า ผู้ใดมีข้อข้องใจจะสอบถามหรือไม่ ทำให้ชาวบ้านพากันส่งเสียงโห่ฮา ไม่พอใจ ต่อว่า ต่อขานฝ่ายโรงงานอย่างรุนแรง และ ส่งเสียงคัดค้านไม่เห็นด้วยที่ฝ่ายโรงงานจะมาตั้งในพื้นที่ และไม่พูดความจริงกับชาวบ้าน โดยฝ่ายโรงงาน พยายามอธิบายว่าวัตถุดิบที่จะนำเข้ามาเป็นพลาสติกที่ผ่านการคัดแยกแล้ว มิใช่นำ”ขยะ”มาคัดแยกที่นี่ และให้เจ้าหน้าที่ นำ ขยะรีไซเคิล ที่จะนำมาผลิต(เตรียมมา) ออกให้ชาวบ้านในที่ประชุมได้ดู

แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงวิตก ไม่เชื่อในสิ่งที่โรงงานชี้แจง และ ส่งเสียงต่อต้าน การทำประชาคมมิใช่ ทำกันแบบนี้ ต้องมีรายละเอียดข้อมูล ขั้นตอนต่างๆ ให้ดีกว่านี้ พร้อมตะโกนต่อว่า เจ้าหน้าที่ ที่ทำหน้าที่ (ลงทะเบียน) ให้ชาวบ้านนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดง แต่ทำเหมือนมีเจตนาแอบแฝง ให้ชาวบ้านลงชื่อแต่ ที่หัวหนังสือเอกสารไม่ได้ระบุว่าชาวบ้านที่มาลงชื่อเพื่อ ทำอะไร หากเมื่อจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน โรงงานคงนำไปแสดงกับทางราชการว่า “ชาวบ้าน”เห็นด้วยใช่หรือไม่
เมื่อเหตุการณ์มีทีท่าจะรุนแรงบานปลาย ทำให้นายนฤชิต บำเพ็ญวัฒนา รองนายกเทศมนตรี ต.นายาว ต้องลุกขึ้นมา อธิบาย กับชาวบ้านว่า ทางโรงงาน ได้ไปติดต่อเพื่อขออนุญาติที่จะมาก่อสร้าง ดำเนินกิจการในพื้นที่ ซึ่งเทศบาล ก็ได้ให้ ผู้ประกอบการ มาประชุม ทำประชาคมกับชาวบ้านให้ถูกต้อง ตามขั้นตอนก่อน

ซึ่งในวันนี้ การประชุม การชี้แจงต่างๆ มีอุปสรรค มากมายการพูดจาประชาสัมพันธ์ ไม่ชัดเจน เพราะเครื่องเสียงขัดข้อง ขอให้ชาวบ้านใจเย็นๆ ยิ่งเพิ่มความไม่พอใจให้กับชาวบ้าน ว่า เป็นผู้นำได้อย่างไร ไม่รู้อะไรเลย นายนฤชิต จึงตัดสินใจ ให้เลื่อนการทำประชาคมไปก่อน โดยให้ ฝ่ายโรงงานไปจัดเตรียม ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ให้พร้อมกว่านี้ แล้วจึงค่อยนัดแนะชาวบ้านมาประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านโห่ฮา และ พากันวิพากษ์ วิจารณ์ จับกลุ่มพูดคุยกันเดินทางกลับอย่างหัวเสียไปตามๆกัน ว่า เสียเวลาเปล่าๆ ไม่ได้สาระอะไรเลย โดยใช้เวลาในการประชาคมครั้งนี้ราว 30 นาทีเท่านั้น


นายโสภณ เวชชากร แกนนำชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ต.นายาว อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี พร้อมเพื่อนบ้าน เปิดเผยว่า พวกตน(ชาวบ้าน) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่โรงงานจะมาตั้งดำเนินกิจการในพื้นที่ เพราะชุมชนนี้เป็นชุมชนทำการเกษตรวิถีชีวิตคือทำไร่ พื้นที่ (สีเขียว) ส่วนหนึ่งเป็นที่จัดสรรอยู่อาศัย พวกที่เกษียณแล้วก็จะมาอยู่ ตรงนี้บริเวณที่ผู้ประกอบการรายนี้จะมาดำเนินการ เดิมเป็นโกดังร้าง ก่อนหน้านี้เคยมีนายทุน จะมาทำโรงโม่ แต่ถูกชาวบ้านคัดค้านล้มเลิกไป ทางผู้ประกอบการรายนี้จึงไปซี้อ(โกดัง) ร้างนี้จากธนาคารที่ยึดไว้ เพื่อจะมาทำธุระกิจต่อ ซึ่งก็ได้ทราบมาว่าโรงงานเริ่มลงมือทำแล้ว ซึ่งถนนบริเวณนี้กว้างแค่ 4 เมตร ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาตให้โรงงานทำได้ คุณใช้ดุลยพินิจอะไร ในเมื่อถนนแค่ 4 เมตร แล้วขี้นชื่อว่า “ขยะ” เขาบอกว่าไม่อันตราย แต่ชุมชนไม่เชื่อเพราะขึ้นชื่อว่าการกำจัดขยะบ้านเรา ยังไม่ได้มาตรฐานเหมือนประเทศที่เขาเจริญแล้ว ต้องมีการคัดแยก

แต่ของเรานำมารวมกันหมด ๆแล้วจะนำมาคัดแยกที่นี่ แต่เวลาเขาพูด เขาพูดไม่หมด ตามที่โรงงานมีหนังสือเชิญพวกเรามา บอกว่า ที่นี่เป็นโรงงาน”คัดแยกขยะ” ขยะปลอดภัย ผมอยากจะถามว่า ขยะที่ไหนบ้างปลอดภัย ซึ่งก่อนหน้านี้ โรงานไม่เคยมาสอบถามอะไรจากชาวบ้านมาก่อนเลย เท่าที่ ทราบ โรงงาน ได้ไปขอนุญาติจาก เทศบาล เทศบาลจึงให้ โรงงาน ออกมาทำประชาคมสอบถามจากชาวบ้านก่อน และ หนังสือเชิญลง วันที่ 8 ต.ค.66 และ นัดประชุม วันที่ 8 ต.ค.66 เช่นเดียวกัน ให้ชาวบ้านมาลงชื่อๆ โดยไม่ลงรายละเอียดว่า ทำอะไรเป็นการโมเมหรือเปล่า เมื่อชาวบ้านจับได้ไล่ทันจึงเขียนเพิ่มเติมภายหลัง ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะโรงงานตั้งอยู่บนเนินที่สูง น้ำที่ไหลลงมาย่อมส่งผลกระทบกับบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ในที่ต่ำกว่า เดือดร้อนแน่นอนอยู่แล้ว


ด้านนายปฐมวงศ์ ก่ำวงศ์ ตัวแทนโรงงาน เปิดเผยว่า วันนี้เป็นการทำประชาคม ทำความเข้าใจกับชาวบ้านถึงการดำเนินธุรกิจของ บริษัท หจก.เอเอสพี บิลติ้ง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ RDF (เชื้อเพลิงแข็ง) หมายถึง ถ่าน ไม้ พลาสติก ที่คัดแยกที่ไม่เป็นของเสีย และอันตราย นำมาสู่กระบวนการผลิต “เครื่องสับ” ตักขึ้นรถนำไปจำหน่ายเลย ให้กับสถานประกอบการโรงปูนฯนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ การผลิตไม่ได้ใช้น้ำล้างแต่อย่างใด เพราะวัตถุส่วนใหญ่เป็นพลาสติก ไม่มีฝุ่น ไม่มีเศษดิน
กับคำถามว่า โรงงานจะสร้างความมั่นใจให้ชาวบ้านได้อย่างไรว่า ปลอดภัย นายปฐมวงศ์ฯ กล่าวว่า ใน การประชุมประชาคมครั้งหน้า ทางโรงงานจะจัดเตรียมข้อมูลจากแผ่นสไลด์ ข้อมูลกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร และจะเหลืออะไรบ้างประชาชนปลอดภัยอย่างไร.

 

/ดำรงค์ ชื่นจินดา รายงาน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป