สระแก้ว – เปิดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน 7 หมู่บ้านคัดค้านการสร้างฟาร์มหมูในพื้นที่ ต.หนองแวง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
สระแก้ว – เปิดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน 7 หมู่บ้านคัดค้านการสร้างฟาร์มหมูในพื้นที่ ต.หนองแวง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2566 เวลา 16.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลาการเปรียญวัดหนองหล่มอ.วัฒนานคร จ. สระแก้ว โดยมีนางสาวกาญจนา วงศ์มณี ปลัดอำเภอวัฒนานคร นางสาววารุณีพงษ์ประเสริฐ นายก อบต.หนองแวง นายบุญลือ บุตรหนัน กำนันตำบลหนองแวง นายวีระ บุตรหนัน ส.อบค.บ้านหนองแวง นายสุทัศน์ สอนวันแดง ปศุสัตว์อำเภอวัฒนานคร นายนภาพล วสนาท ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอวัฒนานคร ในที่ประชุมชาคมโดยมีตำรวจ ผู้ใหญ่บ้านทั้ง7หมู่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านทั้ง7หมู่บ้านของตำบลหนองแวงได้เข้าร่วมประชุมเพื่อขอคัดค้านการสร้างฟาร์มสุกรในพื้นที่บ้านหนองหล่ม หมู่ที่ 4 ตำบลหนองแวง อำเภอวัฒนานคร จ.สระแก้ว เพื่อสู่ศึกประชาคมในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 16.00 น.ที่จะสร้างฟาร์มหมูแม่พันธุ์ 5 พันตัว ที่ศาลาการเปรียญวัดหนองหล่ม หมู่ที่ 4 ตำบลหนองแวง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
ได้จัดประชุมประชาคม และปรึกษาหารือเรื่องผลดีผลเสียต่อประชุมในการสร้างฟาร์มหมูดังกล่าวมีตัวแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,ตัวแทนปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กรณีขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท ฟาร์มสุกร ภายหลังมีการจัดประชาคมครั้งแรกที่ผ่านมผลปรากฏว่า ไม่ผ่านประชาคม เนื่องจากมีการนำเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี และชาวกัมพูชามายกมือประชาคม ส่งผลให้ต้องมีการจัดทำประชาคมใหม่ โดยบรรยากาศการประชาคมครั้งที่ 2 ระหว่างมีการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม ปรากฏว่า ระหว่างการลงทะเบียนทำประชาคม มีเจ้าหน้าที่ อบต.หนองแวง พยายามการกีดกันไม่ให้ชาวบ้านในหมู่อื่น นอกเหนือจาก 3 หมู่บ้าน ม.4 ,ม.3 ,ม.1 และรัศมี 1 กม.จากจุดก่อสร้างฯ ทำให้เกิดปัญหาการถกเถียงกันขึ้น จนได้ข้อสรุป ให้ทุกคนใน ต.หนองแวง ซึ่งมีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน สามารถเข้าร่วมประชาคมและร่วมโหวตได้ ตามประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กรณีขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท ฟาร์มสุกร ลงวันที่ 27 ก.ย.66 บนพื้นที่เกือบ 100 ไร่ ของนายทุนจากพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ทางด้านทิศตะวันออกห่างจากหมู่บ้านหนองหล่ม ม.4 ต.หนองแวง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ประมาณ 1 กม.เศษ ซึ่งมีชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมเวทีประชาคม ประมาณ 632 คน
นายสงัด สุพร หมู่ที่ 1 ต.หนองแวง กล่าวว่า ทั้งนี้ ชาวบ้านในตำบลหนองแวง ได้ทำประกาศคัดค้านโครงการดังกล่าว และมีการติดป้ายคัดค้านทั่วหมู่บ้าน เนื่องด้วยทางบริษัท มั่นชื่อดี กรุ๊ป จำกัด จะมาเปิดโครงการฟาร์มเลี้ยงสุกรแม่พันธ์ขนาค 5,000 แม่ ของบริษัท เบทาโก ไม่รวมลูกสุกร และคาดว่า 1 แม่พันธ์ น่าจะมีลูกได้ 8 ตัว เมื่อรวมกันก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 40,000 ตัว จึงเกรงว่าผลกระทบที่คาคว่า ชาวบ้านจะได้รับในระยะยาว ประกอบด้วย ปัญหา 1.แมลงวัน เป็นพาหะนำโรค เช่น โรคบิด โรคอาหารเป็นพิษ อหิวาต์ตกโรค 2.กลิ่นไม่พึงประสงค์และก๊าซไข่เน่า 3. น้ำเน่าเสียในคลองสาธารณะ 4. หมูส่งเสียงร้องดัง 5.น้ำอุปโภคบริโภคมีสารปนเปื้อน ขณะเดียวกัน วัดในตำบลหนองแวงมีประมาณ 10 วัด โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 8 โรงเรียน โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชของภาคตะวันออก (คนละตำบลแต่ไกล้กัน) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สำหรับเด็กผู้พิการและด้อยโอกาสใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก กำลังจะก่อสร้างคนละตำบลแต่ไกล้กันขอให้พี่น้องชาวบ้านในพื้นที่ตำบลหนองแวง ร่วมมือกันพิจารณา ผลเสียที่เกิดขึ้นต่อถูกหลานในอนาคต จึงขอให้พี่น้องชาวบ้านในพื้นที่ตำบลหนองแวง ออกมาลงประชามติไม่เห็นด้วยในการสร้างฟาร์มเลี้ยงหมู ดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนิรุตติ์ อุดมศิลป์ ผู้ประกอบการโครงการดังกล่าว ได้นำรายละเอียดโครงการมาชี้แจงให้ชาวบ้าน อาทิ รูปแบบโครงสร้างอาคาร การ การดำเนินการบ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อแก๊ส ระบบบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งเปิดวีดีทัศน์รายละเอียดโครงการต่าง ๆ ให้ชาวบ้านได้รับทราบ
ซึ่งเวทีดังกล่าวมีทั้งชาวบ้านที่สนับสนุนให้มีการก่อสร้าง และชาวบ้านที่คัดค้านการก่อสร้าง เนื่องจากเกรงว่า จะเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต ซึ่งขณะเปิดเวทีให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้าร่วมเวทีประชาคมฯ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ โดยระบุว่า บ้านไหนที่อยู่ต่ำกว่ารัศมีต่ำกว่า 1,500 เมตร จะไม่สามารถก่อสร้างได้เลย อีกทั้งที่บอกว่า มีกลิ่นเล็กน้อย ซึ่งรับไม่ได้เลย อีกทั้งจะมีปัญหาแมลงวัน จนชาวบ้านไม่สามารถกินข้าวได้เลย ซึ่งมีปัญหามาแล้วในพื้นที่ภาคใต้ และ จ.ชัยนาท จ.เพชรบูรณ์ โดยถามชาวบ้านในพื้นที่ว่า ถ้าเกิดปัญหาจะทำอย่างไร ปิดทันทีเลยหรือไม่
นางสาววารุณี พงษ์ประเสริฐ นายก อบต.หนองแวง กล่าวว่า การที่มาทำประชาคมที่พานมาชัดเจนว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทางบริษัทฯได้ทำหนังสือถึง อบต.ฯให้ทำประชาคมอีกครั้งอยู่ที่ ชาวบ้านจะเอาอีกหรือไม่เอาผู้ประกอบการก็ยอมถอยไม่สร้างอีกต่อไปทางเราขอยืนยันไม่มีประชาคมอีกต่อไป เพื่อความทุกข์ร้อนของประชาชนจะได้ไม่เดือดร้อน
อย่างไรก็ตาม ช่วงท้ายทางผู้ประกอบการได้ชี้แจงเพิ่มเติม และขอไม่ให้มีการโหวตเพื่อให้สามารถอยู่ด้วยกันได้ต่อไป ทำให้ นางวารุณี พงษ์ประเสริฐ นายก อบต.หนองแวง ได้ออกมาชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับทาง อบต.ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย จึงให้มีการโหวตชาวบ้านที่เข้าร่วมเวที จำนวน 632 คน ผลปรากฎว่า ชาวบ้านยกมือโหวตไม่เอาฟาร์มหมู จำนวน 541 คน เอาฟาร์มหมู จำนวน 91 คน และที่ประชุมมีข้อสรุปในการเปิดเวทีประชุมประชาคมรับฟังความคิดเห็นฯ ไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างฟาร์มหมู่ในโครงการดังกล่าวต่อไป โดยใช้เวลาเกือบ 2 ชม.
ข่าวภาพ : นายสุพจน์บดินทร์ กุ่มประสิทธิ์ ผู้สื่อข่าวจังหวัดสระแก้ว/รายงาน