24/12/2024

เดินหน้าพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษสายอีสานเชื่อมจีนและสปป.ลาว

IMG_4355_0

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และมหาวิทยาลัยหัวจงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศจีน ร่วมแถลงเปิดตัว (Kick off) และเสวนาทางวิชาการโครงการการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ที่ห้องประชาสโมสร 1 ชั้น 2 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รอง ผวจ.ขอนแก่น เปิดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการ โครงการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน – ลาว – ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นโครงการจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (ลาว) และมหาวิทยาลัยหัวจงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (จีน) ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีผู้บริหาร ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ ทั้งในระเบียงเศรษฐกิจนครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย และนครสวรรค์ และผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน


นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า การดำเนินกิจกรรมและโครงการฯ เป็นความร่วมมือกันระหว่างประเทศ จีน ไทย ลาว เพื่อสร้างเศรษฐกิจบนพื้นที่ระเบียงอีสาน ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม ที่จะสร้างเส้นทางสู่ความเป็นเมืองเศรษฐกิจ และพัฒนาการค้า โดยคาดหวังจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจในภาพรวมในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะได้รับประโยชน์กับการเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในอนาคตที่จะถึงนี้
ด้าน ดร.สราวุธ สัตยากวี รองผู้อำนวยการสำนักงานกลยุทธ์และพัฒนากองทุน (สกสว.) กล่าวว่า การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการวิจัยนี้ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบันและอนาคต


รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ยังได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ความสำคัญของระเบียงเศรษฐกิจ ทั้งภายในและการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจต่างประเทศ ที่จะเป็นกำลังสำคัญ ในการเชื่อมโยงผู้คน การค้าและการลงทุน ผ่านการศึกษาและการวิจัยนี้ ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป
ขณะที่ ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ ได้บรรยายพิเศษ ความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสต์ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ พร้อมทิ้งท้ายประเด็นความร่วมกันในการพัฒนาแบบบูรณาการ เพื่อการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย
นอกจากนี้ Professor Li Wei, Ph.D. ASEAN Research Center, Huazhong University of Science and Technology ได้กล่าวถึงนโยบายสาธารณะ และแผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทยและอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน และสิ่งสำคัญคือเรื่องของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม


ดร. อรรฆพร ก๊กค้างพลู (หัวหน้าโครงการ) ได้กล่าวถึง ผลการวิจัยเบื้องต้นในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา และมีประเด็นเชื่อมโยงการพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือ ผ่านการตั้งคำถามการวิจัยว่า อะไรคือโอกาส และความท้าทาย ของระเบียงเศรษฐกิจ รวมทั้งความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนนั้น จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร และต้องมีกลไกสำคัญอะไรบ้าง โดยการนำเสนอผ่านโครงการวิจัย ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการเสวนา การพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือ โอกาส ความท้าทาย ความร่วมมือการค้าการลงทุนบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย Assoc. Prof. Dr. Sithixay XAYAVONG (Director of research and academic service office and Director of Chinese Studies Center) , Dr. Wang Yujiao (Manager of general office of Laos Vientiane Saysettha Operation Management Co., Ltd), คุณบัญชา อาศัยราช (ประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.หนองคาย), คุณกังวาน เหล่าวิโรจน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท พัฒนาเมืองขอนแก่น (เคเคทีที) จำกัด, คุณนายนาวิน โสภาภูมิ นักวิจัย บพท. ปี 2565 รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นร่วมกับผู้ประกอบการ นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ทั้งนี้ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อจำกัด และปัจจัยหนุนเสริม ที่จะช่วยขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ และสร้างความร่วมมือกันทั้งในและต่างประเทศ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างเข้มข้น นักวิจัย นักวิชาการและหน่วยงานภาคเอกชน และภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมเกษตรกรโคกระบือภาคอีสาน สภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย จ.ขอนแก่น สภาอุตสาหกรรม 4 จังหวัด (ขอนแก่น / นครราชสีมา / อุดรธานี / หนองคาย) หอการค้า 4 จังหวัด (ขอนแก่น / นครราชสีมา / อุดรธานี / หนองคาย) ผู้ประกอบการ (นักลงทุน) ไทยในพื้นที่ จ.ขอนแก่น ผู้ประกอบการ (นักลงทุน) จีนในพื้นที่ สปป. ลาว ผู้ประกอบการ (นักลงทุน) ลาวในพื้นที่เวียงจันทน์ มูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า ที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อย่างไรก็ตาม ในการเปิดตัวโครงการวิจัยเปิดตัว (Kick off) โครงการการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างการรับรู้ เพิ่มเติมความเข้าใจ และประสานความร่วมมือให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป