15/11/2024

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2566

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2566
.

วันที่ 22 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า เมื่อเวลา 8.30 น. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงานประกาศผลรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 Human Rights Awards 2023 จัดงานโดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนให้กับองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคมและภาคประชาสังคมที่ผ่านการคัดเลือก รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้องค์กรอื่นๆ ในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน

โดยมี นายดิป มาการ์ หัวหน้าทีมประเทศไทยของสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ดร.เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม, ดร.รัชดา ไชยคุปต์ ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็กในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม กว่า 1,000 คน เข้าร่วมงาน

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเปิดงานว่า รู้สึกยินดี และขอขอบคุณผู้แทนองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม รวมถึงวิทยากร และผู้เข้าร่วมงานฯ ทุกท่าน เป็นอย่างยิ่ง ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานฯ โดยพร้อมเพรียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทุกท่านได้ตระหนักถึงความสําคัญของการดําเนินงานด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน

“รัฐบาลจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม (Rule of Law) ให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ เพราะหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคม  ที่สําคัญของประเทศ เป็นการลงทุนทําให้ประเทศมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือ ที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด แต่ได้ป ระสิทธิภาพมากที่สุดในการพัฒนาประเทศ”

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวด้วยว่า ในการบริหารบ้านเมืองที่ดี ที่เรียกว่า “หลักธรรมาภิบาล” ที่ได้ให้ความสําคัญบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น คือ การนําสามเสาหลักที่สัมพันธ์ เชื่อมโยง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน คือ นําหลักสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และหลักประชาธิปไตย ที่เป็นค่านิยมสากล และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ที่เป็นหลักการของสหประชาชาติ เป็นคุณค่าสากล ต่างค้ําจุนซึ่งกันและกัน เนื่องจากสิทธิมนุษยชนใด ๆ หากปราศจากหลักนิติธรรม และหลักประชาธิปไตย คือ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทุกคน บุคคลย่อมได้รับความเสมอภาค ในกฎหมาย ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมแล้ว สิทธิมนุษยชน “ย่อมเป็นสัญญาว่างเปล่า บนแผ่นกระดาษเท่านั้น”

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระดับปฏิบัติ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มีการจัดทํา แผนที่สําคัญ 2 ฉบับ ได้แก่

1. แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐยึดถือเป็นกรอบในการทํางาน โดยให้ความคุ้มครองประเด็น สิทธิมนุษยชนใน 5 ด้าน 11 กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งใน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง การปกครอง ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจ และธุรกิจ และสําหรับ 11 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้เสียหาย กลุ่มเด็กและสตรี กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้เสพยาเสพติด กลุ่มความหลากหลายทางเพศ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางสถานะทางทะเบียนและกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ต้องหา ผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ และกลุ่มผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยจิตเวช

2. แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งมุ่งนําหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจ กับสิทธิมนุษยชน หรือ หลักการ UNGPs (ยูเอ็นจีพีส์) มาเป็นแนวทางส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจดําเนินงานด้วยความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน โดยกําหนดประเด็น
สําคัญเพื่อเร่งแก้ไข 4 ประเด็น ได้แก่ 1) แรงงาน 2) ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน 4) การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนระดับชาติทั้ง 2 ฉบับ จะเป็นหลักประกัน และเครื่องมือ สําคัญในการกําหนดทิศทางการดําเนินงานให้กับทุกองค์กรต่อไป

“อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์กรทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ การมีส่วมร่วม และเห็นถึงความสําคัญของการนําหลักการสิทธิมนุษยชน และแผนทั้ง 2 ฉบับ มาเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานในทุกระดับ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จึงได้จัดทําโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น โดยเปิดรับสมัครองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งกําหนดให้ใช้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 เป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาตัดสินของภาครัฐ และกําหนดให้ใช้หลักการ UNGPs (ยูเอ็นจีพีส์) และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 เป็นเกณฑ์พิจารณาตัดสิน ของรัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม โดยมีกระบวนการ พิจารณาคัดเลือกตามลําดับจนได้องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจําปี 2566
สําหรับการจัดงานฯ ในวันนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่ง ที่ทุกท่านจะได้ร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดบทเรียนจากองค์กรที่ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนต่อไป
สุดท้ายนี้ กระผมขอแสดงความยินดีกับองค์กรที่ได้รับรางวัลทั้งระดับดีเด่น ระดับดี และระดับชมเชย และขอขอบคุณทุกองค์กรที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ กระผมขอเป็นกําลังใจให้ทุกองค์กรที่ได้ขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่องค์กร ประชาชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป” พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป