23/12/2024

ขอนแก่น – “จัดถก”นำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM 2.5)

S__479717_0

การประชุมนำเสนอแนวทางและรูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ร่วมกับผู้แทนจากพื้นที่กรณีศึกษา ผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด อีกทั้ง เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานในรูปแบบนิทรรศการ/สื่อมีเดียต่อสาธารณะและเกิดเครือข่าย การขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ

 

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ ห้องนภาลัย โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุมการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ภายใต้การดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ในการนี้มี ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง หัวหน้ากลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก หัวหน้าชุดโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,ผู้แทนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ,วิทยากร ,ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น มีส่วนร่วมทั้งส่วนท้องถิ่น อบต. ,อปท. โรงเรียนสถานศึกษา ชุมชน ตลอดทั้งองค์กร ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ร่วมประชุมจำนวน 120 คน


นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศในโลกกำลังได้รับผลกระทบ เพราะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยของประชากร รัฐต้องเสียทั้งงบประมาณด้านการรักษา และยังเกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและได้มีการดำเนินนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ในปีพ.ศ. 2566 นายวราวุธ ศิลปอาชา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่ หมอกควัน และฝุ่นละออง คือ หลักการ 3 พื้นที่ 7 มาตรการ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเขตฟื้นที่เมือง พื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตรกรรม


ด้าน ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง หัวหน้ากลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในนามคณะผู้จัดงานการประชุมการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น ในครั้งนี้เป็นที่ประจักษ์กันแล้วว่า สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในประเทศไทยนั้น มีความรุนแรง ส่งผลให้ประชากรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากคุณภาพอากาศที่หายใจเข้าไปปะปนด้วยฝุ่นละอองพิษ PM2.5 ซึ่งมีขนาดที่เล็กมาก สามารถถูกสูดเข้าสึกถึงทางเดินหายใจและปอด บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแส


เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ตามมามากมาย เช่น อาการภูมิแพ้ ทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นไข้หวัด ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้ง่ายและอาการุนแรงมากขึ้นหลายเท่า นอกจากนี้ยังมีอันตรายต่อระบบหลอดเลือด และมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลันเป็นต้น ความเสี่ยงเหล่านี้ กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงวัย หญิงมีครรภ์ เด็กเล็กและผู้มีอาการเจ็บป่วย ที่มีภูมิคุ้มกันน้อยจะเพิ่มความเสี่ยงและมีอาการรุนแรงมากขึ้น
ส่วน ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก หัวหน้าชุดโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวต้อนรับว่าในนามของหัวหน้าชุดโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่น ตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพประชากร จากภัยเงียบที่ปนเปื้อนมากับอากาศ ทุกลมหายใจเข้า-ออก เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่


ดร.สมพันธ์ กล่าวอีกว่าสำหรับโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นชุดโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ดำเนินการขับเคลื่อนงานใน 4 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี นครราชสีมา อุดรธานี และจังหวัดขอนแก่นของเรา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในประเด็นการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่ผ่านมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะฟื้นที่/ประเด็น ในจังหวัดต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่การปฏิบัติในพื้นที่/จังหวัด ให้แก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองได้ ซึ่งการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น
ดร.สมพันธ์ กล่าวด้วยว่าในวันนี้เป็นการดำเนินงานในระยะที่ 1 และหลังจากนี้จะมีการดำเนินการในระยะที่ 2 ต่อไป จนถึงปี 2567 เพื่อให้เท่าทันกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึงต้น เดือนเมษายน เป็นประจำในทุกปี หวังว่าการประชุมในครั้งนี้ นอกจากการนำเสนอแนวทาง หรือรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นPM2.5 จำนวน 5 แนวทาง ของพื้นที่ต้นแบบแล้ว ก็ยังเป็นกลไกกลางที่สำคัญ ในการเชื่อมประสานทุกท่าน ทุกภาคส่วน ในการร่วมมือกันขับเคลื่อนงานการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในจังหวัดขอนแก่นของเรา ต่อไป เพื่อเป้าหมาย จ.ขอนแก่น เมืองอากาศสะอาดอย่างยั่งยืน


ดร.สมพันธ์ กล่าวต่อไปว่าจังหวัดขอนแก่น มีนโยบายขับเคลื่อนในเรื่องของการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) มาตั้งแต่ปี 2559 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดให้การสนับสนุน และถือเป็นนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและคุณภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากการปนเปื้อนฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งที่ผ่านมาทางจังหวัดได้พยายามขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานหลายฝ่าย เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด,สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10, ศูนย์อนามัยที่ 7, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, โรงพยาบาล, เทศบาล, อปท. ,อบต., สถาบันการศึกษา เป็นต้น และได้มีการจัดเวทีสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นขอนแก่นอากาศสะอาดอย่างยั่งยืน มีเครือข่ายขอนแก่นเมืองอากาศสะอาด มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)
ดร.สมพันธ์ กล่าวอีกว่าซึ่งหนึ่งในข้อเสนอในเวทีรับฟังความคิดเห็นสมัชชาสุขภาพ นโยบายสาธารณะประเด็นขอนแก่นอากาศสะอาดอย่างยั่งยืน ข้อที่ 6 คือ ขอให้จังหวัดขอนแก่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10 และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมสนับสนุนพื้นที่ต้นแบบ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศ”จากนโยบายดังกล่าวกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WeSD) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น
ดร.สมพันธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่าซึ่งจากการดำเนินงานโครงการฯ ในระยะที่ 1 (มิถุนายน 2565 – สิงหาคม 2566) พื้นที่ต้นแบบทั้ง 5 พื้นที่ได้ขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จนสิ้นสุดโครงการลง และได้ผลผลิตเป็นแนวทางหรือรูปแบบนวัตกรรม 5 รูปแบบ ตามบริบทและสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ต้นแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานดังกล่าวต่อสาธารณะและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับทั้งองค์ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และตลอดทั้งประชาชน เกิดความตระหนักรับรู้ถึงผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ต่อสุขภาพ และเกิดการหาแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงาน การป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ประจำปี 2566 – 2567 ของทุกภาคส่วนในจังหวัดขอนแก่น ทางโครงการฯจึงได้จัดกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานในพื้นที่สาธารณะในครั้งนี้ขึ้น
ท้ายสุด นางสาวสุภัสสรา โยทาวงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนน้ำพองศึกษา กล่าวว่าหวังว่าการที่มาอบรมในวันนี้ จะได้ความรู้กลับไป บอกพี่ๆเพื่อนๆน้องๆ และในโรงเรียน และคนในครอบครัวไม่มากก็น้อย ก็อยากไปฝากทุกคน ว่าให้ความสำคัญกับเรื่องของฝุ่นPM 2.5 เป็นอย่างมากเพราะว่า ทุกวันนี้ฝุ่นก็ได้มากระทบปัญหาสุขภาพ ทุกคนในประเทศ และยังส่งผลต่อสุขภาพคนในครอบครัวของตนด้วย.

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป