23/01/2025

อยุธยา – สมาคมชาวปักษ์ใต้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดแถลงข่าวเตรียมจัดงานสารทเดือนสิบ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566

809986_0

อยุธยา – สมาคมชาวปักษ์ใต้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดแถลงข่าวเตรียมจัดงานสารทเดือนสิบ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566

 


วันที่ 10 กันยายน 2566 ที่ สนามฟุตบอลศิวัช ถนนเลียบคลองเปรมประชากร ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายศิวัชเพ็ชรมังกร ยี่สุ่นแสง นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เป็นประธานจัดการแถลงข่าวเตรียมจัดงานสารทเดือนสิบ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566 ในวันที่ 22 กันยายน – 1 ตุลาคม 2566 ณ สี่แยกตลาดบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี นายถวิล ยี่สุ่นแฮง เป็นประธานจัดงานสารทเดือนสิบ โดยมี นายกสมาคมผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์โทรทัศน์ พระนครศรีอยุธยา ชมรมช่างภาพสื่อมวลชน พระนครศรีอยุธยา และประชาชนเข้าร่วมการแถลงขาวในครั้งนี้


นายศิวัชเพ็ชรมังกร ยี่สุ่นแสง นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การจัดงานสารทเดือนสิบ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566 ซึ่งสมาคมชาวปักข์ใต้จังหวัด พระนครศรีอยุธยาได้จัดมาอย่างต่อเนื่องมีเว้นช่วงการระบาดของโรคโควิค 19 การจัดงานสารทเดือนสิบ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566 กำหนดให้จัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน – 1 ตุลาคม 2566 ณ สี่แยกตลาดบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายถวิล ยี่สุ่นแฮง เป็นประธานจัดงานสารทเดือนสิบ นอกจากการจัดงานสารทเดือนสิบแล้ว ยังมีการจัดแข่งขันฟุตบอลสารทเดือนสิบครั้งที่ 3 ประจำปี 2566 เพื่อการกุศล โดยมี ร.ต.ต.สิโรตม์ เศียรอุ่น เป็นประธานจัดการแข่งขัน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 17 กันยายน 2566 เวลา 13.00 – 18.00 น. ณ สนามฟุตบอลศิวัช ถนนเลียบคลองเปรมประชากร ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และการทำบุญสารทเดือนสิบเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จัดให้มีขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 06.00 – 12.00 น. ที่วัดอินทาราม ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในทุกๆปีทางสมาคมได้กำหนดการจัดงานพบปะสังสรรค์สมาคมชาวปักษ์ใต้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในปีนี้ นายสามารถ สุทธิกาญจน์ เป็นประธานการจัดงานในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ที่บริเวณสวนสาธารณะบึงพระราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ประชาชนในภาคใต้ของไทยที่รับมาจากอินเดีย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับชนชาติอินเดีย โดยวัฒนธรรมและอารยธรรมอินเดียส่วนใหญ่ถ่ายทอดเป็นมากับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีประเพณีที่เรียกว่า “เปตรพลี” เป็นประเพณีที่จัดขึ้นอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย คำว่า “เปรต” ในภายาสันสกฤต แปลว่าผู้ไปก่อน อันหมายถึงบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ซึ่งในความเชื่อว่าถ้าตอนมีชีวิตอยู่บนโลกเป็นคนดีมีคุณธรรม พระยายมจะพาวิญญาณไปสู่แคนอันเป็นที่สุข แต่ถ้าทำกรรมชั่วก็จะพาไปลงนรกแคนอเวจี ดังนั้น
ลูกหลานเกรงว่า บรรพบุรุษของตนที่ตายไปอาจจะตกนรก วิธีการช่วยไม่ให้บรรพบุรุษ เหล่านั้นตกนรก คือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้เรียกว่า “พิธีศราทธ์” (ศราทธ์เป็น ภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่าสารท) ซึ่งได้กำหนดวิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ซึ่งเรียกว่าทำบุญทักษิณานุปทานหรือเปตรพลีส่วนในความเชื่อของชนชาติไทยนั้นก็จะมีการเช่นไหว้ผีบ้านผีเรือนหรือผีปู้ย่าตาขายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล ก็เป็นความเชื่อเดียวกับความเชื่อของอินเดียจะต่างกันอยู่ที่ผีปู้ย่าตาขายของไทยมักอยู่ตามบ้านเรือนของลูกหลาน ส่วนผี บรรพบุรุษของชาวอินเดียเมื่อตายแล้วจะเผาภายใน 10 วัน และเชื่อว่าร่างกายถูกไฟเผาจะอ่อนปวกเปียก แต่เมื่อลูกหลานทำพิธีศราทธ์ให้แล้วจะมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น


นายศิวัชเพ็ชรมังกร ยี่สุ่นแสง นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้จังหวัดพระนครศรีอยุธยากล่าวอีกว่า การจัดประเพณีสารทเดือนสิบ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความยินดีที่ได้รับผลผลิตจากการเพาะปลูกในแต่รอบปี และเป็นการบำรุงศาสนาด้วยการอุทิศถวายอาหาร พืชผลแรกได้ตามฤดูกาล แค่พระสงฆ์และอุทิศส่วนกุศลแก่บิดามารคาปู่ข่าตายายที่ถ่วงลับไปแล้ว ทั้งยังเป็นการทำบุญเพื่อเสริมสิริมงคลแก่เรือกสวนไร่นา ซึ่งจะทำกันในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 10 ตามความเชื่อที่ว่าพญายมจะปล่อยวิญญาณของบิคามารคาปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้ว มาพบ
ลูกหลานเป็นเวลา 15 วัน และต้องกลับไปเมืองนรกอีกครั้งในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี สืบทอดให้ลูกหลานได้สำนึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษที่ถ่วงลับ เพื่อให้พี่น้องชาวใต้ที่ไม่ได้กลับภูมิลำเนา และพี่น้องชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงได้มาร่วมทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ จึงขอเรียนเชิญ พี่น้องชาวปักษ์ใต้ ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียงได้มาร่วมงานสารทเดือนสิบ ในครั้งนี้

 

สุจินดา   อุ่นขาว  รายงานจากอยุธยา

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป