22/12/2024

กรมทรัพยากรน้ำ ประเมินศักยภาพและการพัฒนาระบบ ตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก

84572_0

กรมทรัพยากรน้ำ ประเมินศักยภาพและการพัฒนาระบบ ตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก

วันที่ 5 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมโรงแรมไม้หอมวิลล่า จังหวัดนครสวรรค์ ดร.สุประภาพ พัฒน์สิงห์เสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์เมขลา กองวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นประธานใน การประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 2 โครงการค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็ก พื้นที่ “ภาคกลาง และภาคตะวันออก” เพื่อการพัฒนาศักยภาพการเก็บกักและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีดร.กฤษณัส สุรกิตย์ ทีมวิศวกรโครงการ (ผู้เชี่ยวชาญด้านแหล่งน้ำ) คณะวิทยากร เพื่อนำเสนอบทสรุปของผลการดำเนินงานโครงการ ตลอดจนอบรมการใช้งานโปรแกรมการรายงานข้อมูลระดับน้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นตัวแทนแหล่งน้ำจากทั้ง 5 จังหวัด ประกอบด้วยผู้แทนจาก จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี อุทัยธานี และสระบุรี

ดร.สุประภาพ พัฒน์สิงหเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์เมขลาของ ศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะผู้แทนจากกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้เป็นการประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 2 เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจการใช้งานระบบตรวจวัดปริมาณน้ำที่พัฒนาขึ้นได้ และการเป็นส่วนหนึ่งของกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะอาสาสมัครตรวจวัดปริมาณน้ำ

จากปัญหาภัยแล้ง และภัยจากน้ำหลาก ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะต้องวิเคราะห์และทราบถึงสาเหตุที่มาของปัญหา เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่า หน่วยงานของรัฐยังขาดข้อมูลที่สำคัญ โดยเฉพาะข้อมูล “บัญชีแหล่งน้ำระดับตำบล หรือระดับหมู่บ้าน” จึงทำให้ไม่ทราบปริมาณน้ำที่แท้จริงในแหล่งน้ำนั้นๆ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้สำหรับเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูแล้ง และฤดูน้ำหลาก ปัญหาดังกล่าวจึงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กพื้นที่ “ภาคกลาง และภาคตะวันออก” โดยผลลัพธ์ของโครงการจะทำให้ทราบถึงศักยภาพในการเก็บกักและปริมาณน้ำที่มีในปัจจุบัน ตลอดจนปริมาณน้ำที่คาดว่าจะขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถวางแผนการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านน้ำได้ดียิ่งขึ้น

ในการนี้กรมทรัพยากรน้ำ จึงได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ดำเนินโครงการฯ นี้ขึ้น เพื่อศึกษาและสำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ พร้อมทั้งดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับแหล่งน้ำ เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ รวมรวบข้อมูลกิจกรรมการใช้น้ำของประชาชน ในแหล่งน้ำต่างๆ และรับฟังข้อเสนอแนะ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาจากประชาชน โดยนำร่องดำเนินการในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 52 แหล่งน้ำ คลอบคลุมพื้นที่ 7 ลุ่มน้ำ ในพื้นที่การปกครอง 20 จังหวัด โดยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานทรัพยากรน้ำทั้ง 2 สำนักงาน คือ (สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 2 และสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 6)

ดร.กฤษณัส สุรกิตย์ ทีมวิศวกรโครงการ (ผู้เชี่ยวชาญด้านแหล่งน้ำ) กล่าวว่า การประชุมนี้ เป็นการประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 2 เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ และสามารถใช้งานระบบตรวจวัดปริมาณน้ำที่พัฒนาขึ้นได้ จากปัญหาภัยแล้งและภัยจากน้ำหลาก ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะต้องวิเคราะห์และทราบถึงสาเหตุที่มาของปัญหา เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่า หน่วยงานของรัฐยังขาดข้อมูลสำคัญ โดยเฉพาะข้อมูล” บัญชีแหล่งน้ำระดับตำบล หรือระดับหมู่บ้าน” จึงทำให้ไม่ทราบปริมาณน้ำที่แท้จริงในแหล่งน้ำนั้น ๆ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้สำหรับ เก็บกักน้ำเพื่อ การอุปโภค-บริโภค และการเกษตร ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูแล้ง และฤดูน้ำหลาก ปัญหาดังกล่าวจึงทวี ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบตรวจสอบปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่”ภาคกลาง-และภาคตะวันออก” ซึ่งโครงการดังกล่าวทำให้ทราบถึงศักยภาพในการเก็บกักและปริมาณน้ำที่มีปัจจุบันตลอดจนปริมาณน้ำที่คาดว่าจะขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถวางแผนและช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านน้ำได้ดียิ่งขึ้น

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป