(สุรินทร์) กอ.รมน.สุรินทร์ จัดประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
(สุรินทร์) กอ.รมน.สุรินทร์ จัดประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
วันที่ 21 สิงหาคม 2566 นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์/ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พร้อม พันเอก กิตติพงษ์ พุทธิมณี รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์(ท) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 41 หน่วยงาน โดยการบริหารจัดการด้านความมั่นคงของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์ ได้ดำเนินการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายความมั่นคงแห่งชาติและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พุทธศักราช 2566-2570 ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้กำหนดตัวชี้วัดร่วมให้หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนแผนงานโครงการลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่จังหวัดประกาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และปัญหาภัยคุกคามในพื้นที่เป้าหมายที่จังหวัดประกาศจะต้องลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในปี 2566 และร้อยละ 80
เมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2570 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีแนวคิดในการจัดทำแผนบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม การจัดทำตัวชี้วัดความมั่นคงระดับจังหวัด การบูรณาการบัญชีเป้าหมายเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในจังหวัด รวมทั้งการจัดทำเครื่องมือและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ทั้งนี้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดจนคุณภาพและการพัฒนาองค์กรให้เป็นมาตรฐานสากล จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้บูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดสุรินทร์ ในปี 2563 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การจัดการอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำเพื่อการผลิต การจัดการน้ำท่วมอุทกภัย การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และการบริหารจัดการ การบริหารจัดการรายงานต่างด้าว ในปี 2564 ถึง 2565
ด้วยการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดทำ One Stop Service ที่จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม เพื่ออำนวยความสะดวกให้นายจ้างและแรงงานที่เข้ามาลงทะเบียนขอเข้าทำงานมีความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง ส่งผลรายงานผิดกฎหมายเข้าสู่ระบบเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 90 ทำการจัดทำแผนบริหารพื้นที่เสี่ยงจุดเสี่ยงกว่า 280 จุดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่มักประสบปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การลักลอบกระทำผิดกฎหมาย การส่งมอบยาเสพติด และอาชญากรรมอื่นๆ เพื่อให้ท้องถิ่นได้วางแผนติดตั้งระบบ CCTV บันทึกหลักฐานผู้กระทำความผิด การจัดทำ application แผนที่สถานการณ์ร่วม Common Operation Map หรือ COM ด้วยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์พื้นที่เป้าหมายและจัดลำดับความเร่งด่วนต่อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรภายในจังหวัดเข้าแก้ไขปัญหา
ตลอดจนการจัดทำนวัตกรรมเครื่องตรวจจับผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อนำไปช่วยเสริมการเฝ้าตรวจทางธรรมชาติ บริเวณพื้นที่ชายแดนที่แรงงานมักใช้เป็นเส้นทางหลบหนีเข้าเมือง จากการดำเนินงานดังกล่าว ไปสู่การให้ข้อเสนอแน่ะจังหวัดสุรินทร์ ในการจัดทำบัญชีเป้าหมาย เพื่อให้จังหวัดประกาศ และนำไปสู่การวางแผนงานโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่จังหวัดสุรินทร์ประกาศ ได้อย่างครบถ้วนทุกพื้นที่ สามารถเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำในพื้นที่วิกฤต ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติมีแหล่งน้ำสำรองเพียงพอในการอุปโภคบริโภค สามารถบูรณาการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในปี 2565 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายในการขับเคลื่อนโครงการกำกับติดตามและประเมินผล ตำบลมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลการดำเนินการร้อยละ 89 รวมทั้งสามารถคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายของเครื่องโครงการ ฝึกอบรมไทยอาสาป้องกันชาติของจังหวัดสุรินทร์
ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถสร้างผลผลิตด้วยการจัดทำแผนงานโครงการ ของภาคประชาชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของตนเอง โดยใช้งบประมาณของรัฐ และสามารถจัดตั้งเครือข่ายไทยอาสาป้องกันชาติสมทบ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนแผนงาน ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์ได้ในอนาคต ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงแผนงานโครงการที่เกินขีดความสามารถของไทยอาสาป้องกันชาติ ให้กับภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนงบประมาณในการป้องกันและเพิ่มเติมได้อีกด้วย จากการดำเนินงานดังกล่าวในภาพรวมทำให้ปัญหาภัยคุกคามในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการยกระดับการบริหารจัดการ ในด้านประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คุณภาพ และการพัฒนาองค์กร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” มีความพร้อมสามารถรับภารกิจของจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยเหนือด้วยท่าทางในทุกสถานการณ์
ปุรุศักดิ์ แสนกล้า ข่าว/ภาพ