14/11/2024

ชุมพร – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กิจกรรมที่ ๑ การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบริการโรคซึมเศร้าในสื่อมวลชนเขตสุขภาพที่ ๑๑

ชุมพร – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กิจกรรมที่ ๑ การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบริการโรคซึมเศร้าในสื่อมวลชนเขตสุขภาพที่ ๑๑

วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโรงแรมมรกตทวิน ชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร นายแพทย์พงษ์เธียร พันธ์พิพัฒไพบูลย์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพรและผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวี ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กิจกรรมที่ ๑ การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบริการโรคซึมเศร้าในสื่อมวลชนเขตสุขภาพที่ ๑๑ ร่วมกับ นายแพทย์อาทิตย์  เล่าสุอังกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

นายแพทย์อาทิตย์  เล่าสุอังกูร กล่าว่าจากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยกรมสุขภาพจิตรายงานว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ ร้อยละ 10 ของประชากร และพบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ ร้อยละ 20-30 ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆองค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ไว้ว่า มีประชากรมากกว่า 300 ล้านคนหรือร้อยละ 4 ของประชากรโลกเป็นโรคซึมเศร้าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยซึมเศร้ามีความเสี่ยงทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตาย หากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีจะก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ และผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องยาวนานจะก่อให้เกิดการสูญเสียด้านสุขภาพและยังส่งผลให้ความสามารถในการทำงาน สัมพันธภาพกับบุคคลอื่น หรือความสัมพันธ์ในครอบครัวแย่ลง และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และสื่อดังกล่าวก็เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งด้านดีและด้านลบ อย่างในกรณีที่มีการเผยแพร่เนื้อหาที่มีความรุนแรง เช่น การทำร้ายตนเอง และการถ่ายทอดสดฆ่าตัวตาย รวมถึงการเผยแพร่ข้อความที่เป็นสัญญาณในการฆ่าตัวตาย มีมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ การสื่อสารเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเปรียบเสมือนทางออกที่แก้ไขในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง อีกทั้งการสื่อสารในปัจจุบันยังคงให้ความสนใจเรื่องสุขภาพจิต ผลกระทบและนำเสนอในแง่มุมที่เป็นปัญหา ยังขาดการสร้างสรรค์สารและข้อมูลที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจถึงเรื่องการสื่อสารสุขภาพจิตให้เป็นเรื่องการสื่อสารเพื่อความสุข หรือเป็นการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหาและนำไปสู่กระบวนการสร้างสังคมที่มีพลเมืองที่มีสุขภาพจิตดี

จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลสวนสราญรมย์จึงกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาระบบบริการโรคซึมเศร้าในสื่อมวลชนเขตสุขภาพที่ ๑๑ โดยมุ่งหวังให้ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและสื่อมวลชนในเขตสุขภาพที่ ๑๑ ได้มีความรู้เรื่องนโยบายและความสำคัญของการสื่อสารสุขภาพจิตเพื่อประชาชน มีจิตวิทยาการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤต ได้อย่างเหมาะสม

การประชุมครั้งนี้ ใช้เวลา ๑ วัน กลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต และสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน ๓๕คน รูปแบบการประชุมประกอบด้วย การบรรยายได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

นายแพทย์พงษ์เธียร พันธ์พิพัฒไพบูลย์  กล่าวในปัจจุบันมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อหลักในการสื่อสาร ปัญหาการฆ่าตัวตาย เป็นสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมาก สื่อมวลชนจึงมีส่วนสำคัญในการสื่อสารข้อมูล การสร้างความตื่นตัวและความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชนในวงกว้างสื่อมวลชนจึงควรเข้าใจเรื่องหลักการสื่อสารในภาวะวิกฤต การสร้างคุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตตั้งแต่ขั้นเฝ้าระวังเตือนภัย ป้องกันและลดความตื่นตระหนกของประชาชน พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อบรรเทาความเสียหายและคลี่คลายวิกฤตการณ์ โดยคำนึงถึงประโยชน์และความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ

กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในครั้งนี้ จะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นบุคลากรสาธารณสุข และสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดชุมพรมีองค์ความรู้ มีแนวทางในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ได้อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมและมีคุณภาพ ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่เสียสละเวลามาร่วมประชุมในครั้งนี้

ธนากร โกศลเมธี รายงาน 0818923514

 

 

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป