23/11/2024

หม้อแปลงลงดิน “เชียงคาน – จุฬาโมเดล” ล้ำสมัยสุดในอาเซียน

โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเลย ร่วม PEA  ตอบโจทย์ สถาบันวิศวกรอาเซียน 10 ประเทศ (AFEO) ส่งเสริมท่องเที่ยวและความมั่นคงระบบไฟฟ้า ปลอดภัย อัคคีภัย ลดคาร์บอน
นายคมกฤษ  ศิริยุทธแสนยากร โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเลย  กล่าวว่า  เนื่องจากเชียงคานวัฒนธรรมริมโขงบ้านไม้อายุ 100 ปี ที่มีความเสี่ยงด้านอัคคีภัย ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 4-5 ล้านคน/ปี สร้างรายได้สู่ชุมชนพันล้านต่อปี” เชียงคานเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเลย ผมจึงเห็นว่าเชียงคานควรเพิ่มศักยภาพโดยการนำร่องให้เกิดระบบไฟฟ้าสายใต้ดิน หม้อแปลงลงดิน เพื่อให้เกิดความทันสมัย ปลอดภัย อัคคีภัย ลดคาร์บอน เพราะถนนคนเดินเชียงคานเป็นบ้านไม้เก่าที่มีชีวิต เสริมสร้างความยั่งยืนด้านความปลอดภัยอัคคีภัยให้กับพี่น้องชาวเชียงคาน ระบบไฟฟ้าใต้ดิน หม้อแปลงลงดิน จะมีความเสถียรภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ  ช่วยเสริมสร้างทัศนียภาพอันสวยงาม ไม่บังหน้าร้าน, ไม่บังร้านค้า ไม่บัง   หน้าบ้าน ไม่มีสายไฟ ลดความเสี่ยงด้านอัคคีภัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนและปลอดภัยรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จุฬาโมเดลจึงตอบโจทย์ นวัตกรรม – วัฒนธรรม
นายประพันธ์  สีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม กล่าวว่า  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมหนุน เชียงคานจุฬาโมเดล ได้ส่งทีมงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไปสำรวจการออกแบบ และสนับสนุนวิทยากรเรื่องเคเบิลใต้ดินถนนคนเดินเชียงคานให้กับ“AFEO” สถาบันวิศวกรอาเซียน 10 ประเทศ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นการนำเสนอเรื่องการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน การเพิ่มศักยภาพการเป็นเมือง Smart City Low Carbon Underground Cable  ในการโชว์ศักยภาพการเป็นมหานครแห่งแรกในอาเซียน โครงการเชียงคาน จุฬาโมเดล Submersible Transformer
คุณสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช  รองผู้อำนวยการกองออกแบบระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ชูโมเดลจุฬาฯ นำร่องหม้อแปลงใต้ดิน ที่เชียงคาน เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าใต้ดินให้ทันสมัย โดยใช้หม้อแปลงใต้ดิน ตอบโจทย์พัฒนา เชียงคานสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน สร้างความทันสมัย สร้างทัศนียภาพสวยงาม เมืองไม้เก่าแก่ให้มีความสมบูรณ์ ป้องกันอัคคีภัย ป้องกันไฟไหม้บ้านเรือนเก่าแก่กว่า 100 ปีของเชียงคาน เอกลักษณ์ความสวยงามบ้านไม้เก่าของภาคอีสาน เชียงคานเป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นเมืองท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม และความสงบของวิถีชีวิตผู้ที่อาศัยในท้องถิ่น ประกอบกับความงดงามของทัศนียภาพที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน คือการนำระบบสายไฟฟ้าลงดิน แก้ไขปัญหาความเสี่ยงด้านอัคคีภัย, ความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุต่อประชาชนและพนักงาน, ส่งเสริมการท่องเที่ยว (ค้าขาย), รองรับการเติมโตทางเศรษฐกิจ, ทัศนียภาพสวยงาม, ระบบไฟฟ้ามั่นคงเสถียรภาพ,   ลดค่าใช้จ่ายการตัดต้นไม้, ลดคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถเพิ่มพื้นที่การปลูกต้นไม้, ติดตั้งและบำรุงรักษาง่ายและส่งเสริมการค้าขาย
ดร.สมบัติ วนิชประภา ที่ปรึกษาโครงการ Chula Smart City  จากการดำเนินโครงการ Chula Smart City  บริเวณสยามสแควร์ โดยนำสายไฟฟ้าลงดิน พร้อมหม้อแปลงใต้ดิน ทำให้ทัศนียภาพบริเวณดังกล่าว มีความสวยแปลกตาขึ้นมาก รวมถึงปลอดภัยแก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา และยังเป็นจุดเช็คอินอีกแห่งของนักท่องเที่ยว
Submersible Transformer Low carbon  ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ และสถาบันที่มีชื่อมากมาย เป็นเครื่องการันตีคุณภาพของนวัตกรรม ด้วยรางวัล และประกาศเกียรติคุณ อาทิ Thailand energy awards 2023, ASEAN ENERGY AWARDS 2023, กระทรวงพลังงาน, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA, และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กรมบัญชีกลาง, สำนักงบประมาณ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรางวัลประหยัดพลังงาน ลดคาร์บอน อีกทั้งยังตีพิมพ์วรสารระดับโลก IEEE journal  ด้านการประหยัดพลังงานอีกด้วย

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป