25/12/2024

นราธิวาส-เกษตรกร อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โค่นยางหันมาปลูกทุเรียน ผลผลิต 200 ต้น ขายได้ 2 ล้านบาท

6

นราธิวาส-เกษตรกร อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โค่นยางหันมาปลูกทุเรียน ผลผลิต 200 ต้น ขายได้ 2 ล้านบาท

ที่ไร่เอลอง ม.3 ต.สุวารี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส บริษัท อิสเทิร์น สตาร์ไลอ้อน จำกัด (ตราสิงห์โต) ร่วมกับชาวสวนทุเรียนกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียน ได้จัดอบรมให้ความรู้การผลิตและปลูกทุเรียน แก่เกษตรกรปลูกทุเรียนในพื้นที่ อ.รือเสาะ จำนวน 100 คน โดยเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์จาก อ.เบตง จ.ยะลา มาให้ความรู้

นายมะบักกรี เจะเลาะ เกษตรกรสวนทุเรียน เปิดเผยว่าที่ผ่านมาทำสวนเหมือนกับเกษตรกรทั่วไปมีทั้งสวนยาง เงาะ ลองกอง แต่รายได้ไม่มีเก็บ ช่วงที่ตัดสินใจปลูกทุเรียนราคายางอยู่ที่ 70-80 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ที่ปลูกทุเรียนเพราะว่าแม้ราคา 20-40 บาท ในช่วงนั้นก็พอมีเงินเก็บ ส่วนยางมีกรีดทุกวัน แต่ไม่มีเงินเก็บ ทุเรียนนั้นมีเงินเก็บเป็นก้อนทุกปีสามารถนำไปต่อยอดปลูกพืชชนิดอื่นได้ ปัจจุบันสวนทุเรียนมี 50 ไร่ รายได้ปัจจุบัน ทุเรียนราคาสูงมาก ถ้าเทียบกับราคายางการลงทุนในทุเรียนนั้นต้นทุนสูงมาก เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 20 เปอรฺเซ็นต์ ซึ่งตอนนี้ไม่มีไม้ผลชนิดใดสามารถทำกำไรเท่านี้ได้

นายมะบักกรี ยังเผยว่าราคาทุเรียนหมอนทองในวันนี้ราคา ต่อกิโลกรัม 135 บาท จะแยกเป็นเกรด A-B ตลาดนั้นเกษตรกรไม่สามารถส่งออกเองได้ เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตประกอบกับจำนวนทุเรียนมีน้อย นอกจากเกษตรกรมีการรวมกลุ่มหลายๆแปลง ทำเรื่องเกี่ยวกับการส่งออก ซึ่งจะต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป ตอนนี้เกษตรกรก็ส่งขายให้พ่อค้าคนกลางอย่างเดียว ระหว่างที่จะให้ผลผลิตก็ประสบปัญหาศัตรูพืช เนื่องจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ฝนตกชุกทำให้เกิดเชื้อราง่าย แมลงก็มาก ปลูกทุเรียนก็ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย ต้องเข้าใจปัญหาของพืช เข้าใจเรื่องโรคแมลง ที่สำคัญจะต้องสำรองแหล่งน้ำ นอกจากจะต้องศึกษาด้วยตัวเองด้วย แล้วจะต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่เกษตรเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องโรค เรื่องดินและแมลง สำหรับรายได้จากการขายทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วเกือบ 200 ต้น 20 กว่าตัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 2 ล้านบาท


ทางด้านนายอาซิ หะไร เปิดเผยว่าช่วงที่ตัดสินใจโค่นยางหันมาปลูกทุเรียนผู้คนรอบข้างมักถามว่าทำไมหันมาปลูกทุเรียน ตอนที่ตัดสินใจโค่นยางขณะนั้นราคายาง 60 บาท เศษยางราคา 30 บาท ปลูกได้ 2 ปี ราคาทุเรียนพุ่งสูงขึ้น ที่ตัดสินใจโค่นยางเพราะต้นยางแก่ไม่สามารถกรีดได้แล้ว การดูแลต้นทุเรียน มีการตัดแต่งกิ่งตลอดทุกปี ที่ให้ผลผลิตแล้วหลายต้น หากมีการบำรุงอย่างดีน่าจะให้ผลผลิตมากกว่านี้ เพราะบางต้นไม่ค่อยสมบูรณ์ ในเนื้อที่ 2 ไร่ จำนวน60 ต้น ช่วงแรกขายได้ทำให้มีรายได้ซื้อปู๋ยมาบำรุง จากนั้นไม่ค่อยจะติดลูก ประกอบกับปีที่ผ่านมามีจำนวนฝนตกมากจนเกินไป บางต้นก็ไม่สมบูรณ์ มีผู้รู้เข้ามาให้คำแนะนำในเรื่องโรคบ้าง ประกอบกับตนเองก็ไม่ค่อยมีงบมากในการที่จะมาบำรุงต้น เพราะว่าทางกองทุนการทำสวนยางสนับสนุนงบเพียง 3 ปี เท่านั้น ถ้าเป็นไปได้อยากให้รัฐบาลเข้ามาสนุบสนุนในเรื่องการกำจัดศัตรูพืชเพื่อแบ่งเบาภาระเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

ข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป