# แม่ฮ่องสอน# ชาวบ้านบุกพบผู้ว่าฯ ค้านสัมปทานเหมืองแร่
# แม่ฮ่องสอน# ชาวบ้านบุกพบผู้ว่าฯ ค้านสัมปทานเหมืองแร่
10 กรกฏาคม 2566 ชาวอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บุกเข้าพบผู้ว่า ฯ ขอคำตอบหลังจากยื่นคัดค้านการทำเหมืองแร่ ในพื้นที่ต่ออุตสาหกรรมจังหวัด เผยหากไม่หยุดให้สัมปทานแก่บริษัท จะยกระดับการคัดค้าน ที่ห้องรับรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายทองทิพย์ แก้วใส แกนนำตัวแทนภาคประชาชนอำเภอแม่สะเรียง พร้อมด้วยเครือข่ายได้เข้าพบ นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อติดตามความคืบหน้า ภายหลังได้ยื่นร้องคัดค้านการขอประทานบัตรการทำเหมืองแร่หินปูน เพื่อการก่อสร้างในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่าง บ้านโป่งดอยช้าง หมู่ 13 ตำบลบ้านกาศ และบ้านแพะ หมู่ 3 ตำบลแม่สะเรียง ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ไปยังอุตสาห กรรมจังหวัด ไปก่อนหน้านี้แล้ว และยังไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจ พร้อมกันนี้กลุ่มแกนนำยังได้ยื่นหนังสือร้องคัดค้านการขอสัมปทานบัตรเหมืองแร่หินปูน ฯ ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน อีกครั้ง โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด , ปลัดจังหวัดอุตสาหกรรมจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน รวมทั้งสำนักงานทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เข้าชี้แจงกับกลุ่มผู้ร้องคัดค้านดังกล่าว
นายทองทิพย์ แก้วใส ตัวแทนภาคประชาชนชาวอำเภอแม่สะเรียง กล่าวว่า การมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าหลังจากที่ได้ยื่นหนังสือไปครั้งหนึ่งแล้ว และมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการขอสัมปทานบัตรเหมืองแร่ แต่ก็ได้คำตอบระดับหนึ่ง แต่เป้าหมายที่มาวันนี้ สิ่งที่ต้องการคืออยากให้บริษัทถอนคำขอประทานบัตร หากบริษัทยอมที่ถอนประทานบัตร ชาวแม่สะเรียงก็จะยุติการเคลื่อนไหวทันที แต่ถ้าหากยังเดินหน้าต่อเราจะเคลื่อนไหวต่อไป ส่วนการทำประชาวิจารณ์นั้นหากอุตสาหกรรมจังหวัด แจ้งให้ชาวบ้านรับรู้ก่อนว่าจะทำประชาวิจารย์แบบไหนอย่างไร ชาวบ้านก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ นอกจากนี้ ชาวบ้านยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไหมพื้นที่ป่าบ้านโป่งดอยช้าง จึงถูกจัดว่าเป็นป่าเสื่อมโทรม เพราะตั้งแต่อดีตเมื่อ 20 ปีกว่าที่ผ่านมา เคยเป็นเหมืองเก่า (2540) แต่ปัจจุบันป่าได้รับการดูแลจากชาวบ้าน ได้ฟื้นคืนกลับมาเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าชุมชนของบ้านโป่งดอยช้าง ที่ได้ร่วมกันจัดตั้งกฎระเบียบในการป้องกัน อนุรักษ์ รักษาผืนป่า และ เป็นป่าต้นน้ำที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชน มายาวนานจนตั้งแต่การยกเลิการทำเหมืองเก่า อีกทั้งหลังจากการดูแลผืนป่าของชาวบ้านตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้ ป่าชุมชนบ้านโป่งดอยช้างได้รับรางวัล ป่าชุมชนตัวอย่างในระดับจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการประกวดป่าชุมชน โครงการกล้ายิ้ม “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน”ประจำปี 2553 ซึ่งร่วมขับเคลื่อนโดยกรมป่าไม้ การเดินทางขึ้นพบผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน อุตสาหกรรมจังหวัด และทางป่าไม้แม่ฮ่องสอน ครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้า ภายหลังได้ยื่นเรื่องคัดค้านว่ามีผลอย่างไรบ้าง ทางท่านผู้ว่าฯมีแนวทางช่วยเหลือความเดือดร้อนของคนแม่สะเรียง อย่างไร ในส่วนของอุตสาหกรรมจังหวัด ประเด็นเรื่องการขอประทานบัตรมีการขออนุญาติถูกต้องหรือไม่เป็นไปตามขั้นตอนระเบียบหรือไม่ แม้ว่าประชาชนในพื้นที่สัมปทานจะไม่มีพื้นที่ที่มีโฉนดตามหลักเกณฑ์ แต่ชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบโดยตรงด้านอื่นๆ ที่ส่งผลกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ยาวนาน และทางด้านเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ก็จะถามว่าจริงๆแล้วพื้นที่ป่าที่ได้รับการประทานบัตรนั้น เป็นป่าเสื่อม โทรมจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนชาวแม่สะเรียงต้องการที่จะรู้คำตอบ ทั้งนี้ ชาวแม่สะเรียงได้มีการร่วมตัวคัดค้านและยื่นหนังสือผ่านอำเภอแม่สะเรียง และมีการเคลื่อนไหวแสดงจุดยืนการคัดค้านอย่างชัดเจนต่อเนื่องมา ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ได้ มีการทำประชาคม 6 หมู่บ้าน ทั้งหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงของการได้รับผลกระทบ ประกอบไปด้วย บ้านโป่งดอยช้าง บ้านแพะ บ้านนาคาว บ้านทุ่งพร้าว บ้านท่าข้าม บ้านป่ากล้วย ซึ่งชาวบ้านมีความเห็นพ้องต้องกันว่าไม่เอาเหมืองหินอย่างเด็ดขาด 100% ในการร่วมคัดค้านการขอประทานเมืองแร่ในครั้งนี้ ป่าชุมชนบ้านโป่งดอยช้าง ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง ที่จะได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ในอนาคต หากได้รับการประทานบัตร พบว่าป่าไม้ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งในอดีต 20 กว่าปีที่ผ่านมา พื้นที่บริเวณนี้เคยมีการทำเหมืองมาแล้วก็ตาม แต่ในปัจจุบันธรรมชาติได้ฟื้นตัวกลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน ที่ชาวบ้านช่วยกันรักษาต้องมาถูกทำลายเพราะการทำเหมืองแร่อีกครั้ง ถูกต้องแล้วหรือ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวน ย้ำชัดคัดค้าน ไม่ขอซ้ำรอยเดิม ในขณะที่ชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งได้ประสานงานมาที่ นางสุภิญกัลย์ พิภพสิทธิโภคิณ คณะทำงานนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล เกี่ยวกับกรณีนี้ว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มนายทุนเหมืองหินนี้ได้อย่างไรบ้าง โดยนางสุภิญกัลย์ (แม่เลี้ยงผึ้ง) ได้ตอบชาวบ้านว่า เรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านนี้ นายกฯท่านได้รับทราบแล้ว และได้สั่งการส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือชาวบ้านโดยด่วน พร้อมทั้งให้ตรวจสอบที่มาของเหมืองนี้ ว่ามีใครอยู่เบื้องหลัง และขอให้ชาวบ้านไม่ต้องกังวนและโดยส่วนตัวนางสุภิญกัลย์ ก็เป็นคนแม่สะเรียงโดยกำเนิดอยู่แล้ว และมีบ้านอยู่ในพื้นที่ที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบด้วย จึงขอให้ชาวบ้านสบายใจได้ว่าตนจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและจะไม่ยอมให้มีเหมืองระเบิดหินในจังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างเด็ดขาด นางสุภิญกัลย์ กล่าว ..