พิจิตร-ป.ป.ช.พิจิตรจับมือชลประทานร่วมตรวจรับแพสูบน้ำงบ32ล้านมอบส่งต่อท้องถิ่นบริหารจัดการสูบน้ำช่วยชาวนา
ชลประทานจังหวัดพิจิตรโชว์ผลงานให้ ป.ป.ช.พิจิตร ตรวจงบจังหวัดพิจิตร 2 โครงการ 47 ล้านบาท สร้างแพสูบน้ำในแม่น้ำยม เสร็จงานเกือบ 2 ปี ติดขัดงานเอกสารการถ่ายโอนทำชาวนาร้องทุกข์ผ่านสื่อ บทสุดท้าย ป.ป.ช.พิจิตร รับเป็นเจ้าภาพเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคุยถกแก้ปัญหา ได้บทสรุปวันนี้ส่งมอบเดินเครื่องได้ แต่ท้องถิ่นต้องรับไม้ต่อเพื่อใช้งานสูบน้ำช่วยชาวนาต่อไป เพราะเป็นหน้าที
https://youtu.be/kWgo2UQ-Ys8
วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ความนายวราพงษ์ อินต๊ะโมงค์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิจิตร เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากมีเกษตรกรร้องทุกข์ผ่านสื่อมวลชน ว่าโครงการสร้างแพสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า งบปี 64/65 มี 2 แห่ง สร้างเสร็จเบิกเงินเรียบร้อย แต่ใช้งานไม่ได้
โดยพบว่า โครงการแรกเป็นโครงการจ้างก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านย่านยาว ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร งบประมาณ พ.ศ. 2564 ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด งบประมาณ 20,021,000 บาท ราคาที่จัดซื้อจัดจ้าง 15,743,210 บาท มีห้างหุ้นส่วนจำกัด ดี อาร์ ที เทรดดิ้ง เป็นผู้รับจ้าง วันที่เริ่มต้นสัญญา วันที่ 5 มีนาคม 2564 วันที่สิ้นสุดสัญญา 27 กันยายน 2564 มีโครงการชลประทานพิจิตร เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ เป็นการใช้งบประมาณเท่านั้น
แห่งที่ 2 คือ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านคลองตามี ต.บ้านน้อย อ.โพทะเล จ.พิจิตร โดยวิธีคัดเลือก เป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด งบประมาณ 32,541,000 บาท ราคาที่จัดซื้อจัดจ้าง 32,530,000 บาท มีห้างหุ้นส่วนจำกัด วงศ์สระหลวงก่อสร้าง เป็นผู้รับจ้าง วันที่เริ่มต้นสัญญา 19 มกราคม 2565 มีโครงการชลประทานพิจิตร เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ
ซึ่งทั้ง 2 โครงการ สร้างเสร็จแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากติดปัญหาส่วนราชการ คือ จังหวัดพิจิตร-กรมธนารักษ์-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขาดการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน ซึ่งความจริงเป็นปัญหาที่เล็กน้อยมากถ้าได้ประชุมพูดคุยกันก็น่าจะหาข้อยุติได้ จึงได้มีการดำเนินการประชุมรับฟังลงพื้นที่และแก้ญหาโดยมี นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ ผู้ว่าฯพิจิตร เป็นประธานและได้ข้อยุติถึงแนวทางแก้ปัญหา
ล่าสุดวันนี้ นายเอกฉัตร อี่ยมตาล ผอ.โครงการชลประทานพิจิตร พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของแพสูบน้ำทั้ง 2 แห่ง จึงได้ร่วมกันกับทีมงานของ ป.ป.ช.พิจิตร และชมรม Strong จิตพอเพียง จึงได้ร่วมกันตรวจภาพการใช้งานของอพสูบน้ำทั้ง 2 แห่ง ว่า มีคุณภาพสมบูรณ์ใช้งานได้จริงตามสัญญาจ้างหรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่าแพสูบน้ำดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างดีสูบน้ำไหลแรงส่งไปช่วยนาข้าวฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำยมของพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งหลังจากนี้ก็จะให้ทุกฝ่ายดำเนินงานด้านธุรการและเอกสารเพื่อให้ อบต.รังนก อ.สามง่าม และ อบต.บ้านน้อย อ.โพทะเล ดำเนินการประชุมสภาเพื่อขอมติในการรับแพสูบน้ำจากจังหวัดพิจิตรไปบริหารจัดการเพื่อสูบน้ำช่วยเหลือเกษตรกรให้มีน้ำทำนาบนพื้นที่เกือบ 5 พันไร่ ของทั้ง 2 ตำบล ซึ่งเป็นภารกิจหน้าที่ที่ อบต. ทั้ง 2 แห่ง ควรต้องรับโอนเพราะเป็นภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อความเจริญรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่นคงของเกษตรกรที่ล้วนเป็นประชากรภายใต้การปกครองของท้องถิ่นนั้นนั่นเอง
สิทธิพจน์ พิจิตร