24/11/2024

พิษณุโลก แขวงทางหลวงชนบท ส่งทีมตรวจสอบสะพานขนาดใหญ่ หวั่นส่งผลกระทบจากแผ่นดินไหว

พิษณุโลก แขวงทางหลวงชนบท ส่งทีมตรวจสอบสะพานขนาดใหญ่ หวั่นส่งผลกระทบจากแผ่นดินไหว

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ภายหลังที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศ เรื่องเกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ที่ละติจูด 16.558 องศาเหนือ ลองจิจูด 100.368 องศาตะวันออก ขนาด 4.5 ความลึก 5 กิโลเมตร ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร หากมีรายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบโดยด่วนต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 00.37 น.ตามที่รายงานข่าวไปแล้วนั้น


รายงานข่าวแจ้งว่า ในเขตอำเภอเมืองพิจิตร หลายตำบลได้รับรู้แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวครั้งนี้จุดศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอบางกระทุ่มจังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ใกล้เคียง อำเภอเมืองพิจิตร

ทางด้านนายกล้าหาญ ทารักษา ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก กล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ นับว่ารุนแรงในทางวิศวกรรมศาสตร์ถือเป็นเรื่องใหญ่
เพราะพิษณุโลกไม่ได้อยู่ในรอยแยกวงแหวนไฟ หรือลอยเลื่อน อาจต้องมีตรวจสอบอาคารสูงในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกกันอย่างเร่งด่วน รวมถึงสะพานใหญ่ทุกตัว

ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก กล่าวอีกว่า กรณีเกิดเหตุการณ์นี้ ตนได้มอบหมายให้ส่วนปฏิบัติการ สำนักงานแขวงทางหลวงชนบท ไปตรวจสอบสะพานขนาดใหญ่ในพื้นที่รับผิดชอบที่มีรถขนาดใหญ่วิ่งผ่านไป-มา อาทิ สะพานสุพรรณกัลยา แม้เพิ่งยกไปให้เทศบาลนครพิษณุโลกดูแล ส่วนสะพานพระราชวังจันทน์ เป็นสะพานเหล็ก ทั้ง 2 แห่ง ไม่พบความเสียหายแต่อย่างใด ส่วนในพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม มี 2 สะพาน คือ สะพานปากพิง และสะพานวัดไพรสุวรรณ ซึ่งในจังหวัดพิษณุโลก มีสะพานในความรับผิดชอบของทางหลวงชนบท 40 สะพาน

กฎกระทรวงกำหนดเรื่องการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่ กระทรวงกำหนดเรื่องการต้านทานแรสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่กฎกระทรวงกำหนดเรื่องการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่กระทรวงมหาดไทยออก “กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564″ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักฯ ฉบับเดิม พ.ศ. 2550 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

กฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ได้ปรับปรุง
บริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศมากขึ้น จากเดิมมี บริเวณเฝ้าระวัง บริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 โดยแบ่งใหม่เป็น 3 บริเวณ ได้แก่

บริเวณที่ 1 (เดิมคือ บริเวณเฝ้าระวัง) มี 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร สงขลา สุราษฎร์ธานี โดยมีหลายจังหวัดที่เพิ่มเติมขึ้นมา ได้แก่ ตรัง นครพนม นครศรีธรรมราช บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบุรี เลย สตูล และหนองคาย และมีบางจังหวัดที่ปรับย้ายไปเป็นบริเวณที่ 2 (พังงา ภูเก็ต ระนอง)

บริเวณที่ 2 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 1 เดิม) เป็นบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง มี 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร โดยมีจังหวัดที่ปรับย้ายมาจากบริเวณเฝ้าระวังเดิม คือ พังงา ภูเก็ต ระนอง และมีจังหวัดที่เพิ่มเติมขึ้นมา ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และอุทัยธานี

บริเวณที่ 3 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 2 เดิม) เป็นบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในระดับสูง มี 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเดิม 10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน และเพิ่มขึ้น 2 จังหวัด คือ สุโขทัย และอุตรดิตถ์
ปรีชา นุตจรัส รายงานพิษณุโลก

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป