23/11/2024

ชุมพร – ลูกปลาตายนับล้านตัวเกิดจากปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ หรือ Red Tide

ชุมพร – ลูกปลาตายนับล้านตัวเกิดจากปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ หรือ Red Tide

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=g7c1JOO4QWw[/embedyt]

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พบลูกปลาอยู่บนชายหาดจำนวนมาก  ที่ชาวบ้านเรียกว่าปรากฏการณ์ ปลาตายน้ำแดงริมหาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร  จากผู้ใช้ เฟซบุ๊ก Kantaphong Thakoonjiranon ได้ลงภาพปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ หรือ Red Tide  นายกันตพงศ์ ฐากูรจิรนนท์   เจ้าของร้านตาลเดี่ยว 70 หมู่8 ต.สะพลี อ ปะทิว จ.ชุมพร ที่ริมหาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ตั้งแต่อยู่ทะเลมาปีนี้เยอะที่สุด “หลายล้านตัว”  และมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงเข้ามาเก็บลูกปลาจำนวนมาก

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ หรือ Red Tide เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทะเลทั่วทุกมุมโลก สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของสาหร่ายเซลล์เดียวจำพวก “แพลงก์ตอนพืช” ในทะเลแถบนั้น หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “แพลงก์ตอนบลูม” จำนวนประชากรของแพลงก์ตอนที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากนี้ ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี โดยปกติแล้วจะเป็นสีแดงหรือสีเขียว และบางทีอาจจะเป็นสีม่วงหรือสีชมพูก็ได้     การเกิดแพลงก์ตอนบลูมก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ มีฝนตกหนัก และคลื่นลมแรงทำให้มีปริมาณธาตุอาหารและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของแพลงก์ตอน หรือ การเกิดน้ำผุด (up welling) เป็นขบวนการที่น้ำเบื้องล่างถูกพัดพาขึ้นมาเบื้องบน เนื่องจากกระแสลมพัดเอามวลน้ำที่ผิวบริเวณชายฝั่งออกสู่ทะเลมวลน้ำที่อยู่ระดับลึกจะไหลเข้าสู่ฝั่งแล้ววกสู่ผิวน้ำแทนที่มวลน้ำที่พัดออกไปซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแพลงก์ตอน เพราะเป็นการนำธาตุอาหารจากพื้นน้ำเข้ามาสู่ผิวน้ำ ทำให้แพลงก์ตอนได้ใช้ จึงมีการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนมากขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง

นายกันตพงศ์ ฐากูรจิรนนท์  เปิดเผยว่า เป็นปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ จะเกิดขึ้นทุกปี แต่ปีนี้มีปลาตายเยอะมาก หลายตันอยู่หลักล้านตัว เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนที่ผ่านมา สาเหตุที่เกิดเกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของสาหร่ายเซลล์เดียวจำพวก “แพลงก์ตอนพืช” ทำให้ปลาขาด อากาศ ทำให้เป็นสาเหตุให้ปลาเหล่านี้ตาย จะเกิดขึ้นในช่วงอากาศร้อนและมีฝนตกหนัก และคลื่นลมแรง  ทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ แต่ละปีก็จะมีจำนวนปลาที่ตายมากน้อยไม่เท่ากันแต่ว่าปีนี้มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา

ธนากรโกศลเมธีรายงาน 0818923514

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป