08/01/2025

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ “ทำงานง่าย รายได้ดี ไม่มีอยู่จริง”

2169BC23-A8DF-43EF-B2B0-4F1F3C1D50A8

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ “ทำงานง่าย รายได้ดี ไม่มีอยู่จริง”

เนื่องจากในทุกรอบสัปดาห์ มีการรับแจ้งความออนไลน์คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ เป็นจำนวนมาก และอยู่ในลำดับที่ 2 ของทุกสัปดาห์ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพโดยอาศัยความต้องการมีรายได้พิเศษของประชาชนเป็นกลโกงในการหลอกลวง จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. พร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.๒๕๖๖ เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากยังมีประชาชนหลงเชื่อและถูกหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวอยู่ และมีการหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ อีกจำนวนมาก
พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 พ.ค.-3 มิ.ย.2566) มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ 3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงซ้ำเติมประชาชนในช่วงนี้ คือ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ โดยมีรูปแบบการหลอกลวงมาก่อนหน้านี้ เช่น หลอกให้ทำงานหารายได้พิเศษในการสต๊อกสินค้าให้ศูนย์กระจายสินค้าของ Shopee Lazada โดยให้ผู้เสียหายกดไลค์ กดแชร์สินค้าที่กำหนด และโอนเงินค่าสินค้าเพื่อเป็นการสต๊อกสินค้า โดยอ้างว่าผู้เสียหายจะได้ค่าคอมมิชชัน ของราคาสินค้า, หลอกให้ทำงานกดสั่งสินค้าใส่ตะกร้าใน Shopee จากนั้นคนร้ายให้บันทึกหน้าจอส่งให้ดูพร้อมโอนเงินตามมูลค่าสินค้านั้นๆเข้าบัญชีคนร้าย โดยอ้างว่าผู้เสียหายจะได้ค่าคอมมิชชัน, หลอกลวงให้ทำงานหารายได้พิเศษจากการขายสินค้าใน Wish Shop โดยให้เลือกสินค้ามาขาย ตามเงื่อนไขและจำนวนที่จะทำให้ผ่านภารกิจ และต้องเติมเงินก่อนขายทุกครั้ง โดยอ้างว่าผู้เสียหายจะได้กำไรจากการขายสินค้า ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องย้ำเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ
พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท.บช.สอท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ที่มิจฉาชีพหลอกลวงให้ประชาชนโอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ ดังนี้
1. “หลอกให้สมัครงาน สุดท้ายอ้างคนเต็ม ให้ทำภารกิจลงทุนแทน” มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงาน
ทาง Facebook โดยใช้รูปและโปรไฟล์ที่น่าเชื่อถือชักชวนให้ทำงาน โดยมีเงื่อนไขในการสมัครงานง่าย รายได้ดี ผู้เสียหายหลงเชื่อทักสอบถามรายละเอียด มิจฉาชีพคนที่ 1 ให้เพิ่มเพื่อนไลน์มิจฉาชีพคนที่ 2 มิจฉาชีพคนที่ 2 อ้างว่ามีคนทำงานตามที่โฆษณาเต็มแล้ว เสนอให้ผู้เสียหายทำภารกิจซื้อพอร์ตหุ้นในเว็บไซต์ปลอม Liberator https://fhwbziuvdrldd.com/account/register (เปิดเมื่อ 2023-02-07) โดยจะได้ผลตอบแทน 20% ผู้เสียหายหลงเชื่อกดลิงก์สมัครและลงทุนในเว็บไซต์ตามคำแนะนำของมิจฉาชีพ ครั้งแรกลงทุน 100 บาท ได้ 130 บาท ถอนเงินออกได้ ครั้งที่สองลงทุน 300 บาท ถอนเงินออกได้ 390 บาท ครั้งที่ 3 ลงทุน 800 บาท จำนวนเงินขึ้นในเว็บไซต์ 960 บาท แต่ยังถอนไม่ได้ มิจฉาชีพแจ้งว่าต้องลงทุนเพิ่มอีก 6 ครั้ง ในแต่ละครั้งต้องลงทุนเพิ่มเป็น 2 เท่า ของครั้งก่อนผู้เสียหายลงทุนเพิ่มเรื่อยๆ สุดท้ายเมื่อทำเรื่องถอน มิจฉาชีพอ้างว่าสลิบไม่บันทึกตามที่แอดมินแจ้ง ต้องโอนเงินเพิ่มเพื่อแก้ไข และต่อมาก็อ้างข้อผิดพลาดต่างๆ และไม่คืนเงินให้ผู้เสียหาย
​ 1.1 จุดสังเกต
1.1.1 มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงานทาง Facebook โดยมีเงื่อนไขง่าย รายได้ดี เพื่อจูงใจ
1.1.2 เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์(Line) มิจฉาชีพจะอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ทำ
ภารกิจลงทุนในเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมา โดยนำโลโก้บริษัทโบรกเกอร์ liberater มาใช้
1.1.3 บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงินเป็นชื่อบัญชีบุคคลธรรมดา ไม่ใช่บัญชีหน่วยงานหรือองค์กร
1.1.4 เว็บไซต์ของปลอมคือ https://fhwbziuvdrldd.com/account/register แต่เว็บไซต์
ของจริงคือ https://www.liberater.co.th
1.2 วิธีป้องกัน
1.2.1 มิจฉาชีพโฆษณาชักทางทาง Facebook จึงต้องตรวจสอบกฎเหล็ก Facebook ดังนี้
​​​1) ตรวจสอบว่าเป็นบัญชีทางการ (Official) และมีเครื่องหมาย ✔ หรือไม่ หากเป็นของปลอมมักไม่ใช่บัญชีทางการและไม่มีเครื่องหมาย ✔ แสดง
​​​2) ตรวจสอบการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ หากเป็นของจริงจะมีการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ด้านบวก หากเป็นของปลอมจะมีการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ด้านลบ (โกรธ)
​​​3) ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ
​​​ – ประวัติการสร้างเพจ : ของจริงจะสร้างเพจมานาน แต่ของปลอมมักสร้างเพจมาไม่นาน
​​​ – ประวัติการเปลี่ยนชื่อ : ของปลอมมักเปลี่ยนชื่อเพจบ่อยเพื่อหลอกไปเรื่อยๆ
​​​ – คนจัดการเพจ : ของจริงที่อยู่ของคนจัดการเพจมักอยู่ในประเทศที่สอดคล้องกับเพจ เช่น เพจของคนไทย คันจัดการเพจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย แต่ของปลอมคนจัดการเพจมักมีที่อยู่ต่างประเทศ หรืออยู่หลายประเทศ
​​​ – ในข้อมูลเพิ่มเติมของเพจ(about) : ของปลอมมักสร้างยอดการกดถูกใจและผู้ติดตามใน about เพื่อให้เข้าใจผิดว่ามีการกดถูกใจและผู้ติดตามจำนวนมาก
1.2.2 มิจฉาชีพให้ทำภารกิจในเว็บไซต์ปลอม จึงไม่ควรกดลิงก์ดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพส่ง
มาให้ หากต้องการลงทุนควรเข้าเว็บไซต์ https://www.liberater.co.th
1.2.3 หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชัน liberater ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store
หรือ Apple Apps Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิงก์หรือข้อความที่มีคนส่งให้
1.2.4 ควรลงทุนในบริษัทหรือผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. โดย
ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www.set.or.th
​2. “สมัครทำงานพิเศษ แต่ต้องเสียเงินค่าทำสัญญา ค่าบัตร ค่าประกันสินค้า” มิจฉาชีพเปิดเพจFacebook ปลอมโดยนำโลโก้กรมการจัดหางานมาประกอบการโฆษณารับสมัครพนักงานแพ็คสบู่ โดยได้ค่าตอบแทนสูง ตามแพคเกจ โดยมีแพคเกจเริ่มต้นที่ก้อนละ 10 บาท ชุดละ 400 ก้อน(บางกรณีหลอกจัดเตรียมสินค้าหรือแพคสินค้า) ผู้เสียหายหลงเชื่อทักแชทสนทนา มิจฉาชีพคนที่ 1 ให้เพิ่มเพื่อนไลน์มิจฉาชีพคนที่ 2 เพื่อแจ้งรายละเอียดการทำงาน มิจฉาชีพคนที่ 2 ให้ทำสัญญาเป็นเงิน 2,099 บาท ค่าบัตรพนักงาน 1,299 บาท และค่าประกันสินค้า 599 บาท โดยจะคืนเงินทั้งหมดเมื่อทำภารกิจสำเร็จ เมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้ไปแล้ว จะอ้างเรื่องต่างๆ เพื่อให้ผู้เสียหายโอนเงินเพิ่ม สุดท้ายปิดกั้นผู้เสียหายหรือปิดเพจหนีไป
2.1 จุดสังเกตุ
​ 2.1.1 มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงานทาง Facebook โดยมีเงื่อนไขง่าย รายได้ดี เพื่อจูงใจ
​​ 2.1.2 เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์(Line) มิจฉาชีพจะส่งแพคเกจที่มีโลโก้กรมการจัดหางานมาประกอบการหลอกลวงเพื่อให้น่าเชื่อถือ จากนั้นจะอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ทำภารกิจ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก่อนการทำงาน
1.1.3 บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงินเป็นชื่อบัญชีบุคคลธรรมดา ไม่ใช่บัญชีหน่วยงานหรือองค์กร
​ 2.2 วิธีป้องกัน
2.2.1 มิจฉาชีพโฆษณาชักชวนทาง Facebook จึงควรตรวจสอบกฎเหล็ก Facebook ดังนี้
​​​ 1) ตรวจสอบว่าเป็นบัญชีทางการ (Official) และมีเครื่องหมาย ✔ หรือไม่ เนื่องจากของปลอมมักไม่ใช่บัญชีทางการและไม่มีเครื่องหมาย ✔ แสดง
​​​ 2) ตรวจสอบการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ หากเป็นของจริงจะมีการกดอิโมชัน แสดงอารมณ์ด้านบวก หากเป็นของปลอมจะมีการกดอิโมชันแสดงอารมณ์ด้านลบ (โกรธ)
​​​ 3) ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ
​​​ – ประวัติการสร้างเพจ : ของจริงจะสร้างเพจมานาน แต่ของปลอมมักสร้างเพจมาไม่นาน
​​​ – ประวัติการเปลี่ยนชื่อ : ของปลอมมักเปลี่ยนชื่อเพจบ่อยเพื่อหลอกไปเรื่อยๆ
​​​ – คนจัดการเพจ : ของจริงที่อยู่ของคนจัดการเพจมักอยู่ในประเทศที่สอดคล้องกับเพจ เช่น เพจของคนไทย คันจัดการเพจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย แต่ของปลอมคนจัดการเพจมักมีที่อยู่ต่างประเทศ หรืออยู่หลายประเทศ
​​​ – ในข้อมูลเพิ่มเติมของเพจ(about) : ของปลอมมักสร้างยอดการกดถูกใจและผู้ติดตามใน about เพื่อให้เข้าใจผิดว่ามีการกดถูกใจและผู้ติดตามจำนวนมาก
​ 2.2.2 หากต้องการทำงานให้เข้าเว็บไซต์ https://www.doe.go.th หรือทางแอปพลิเคชัน “ไทยมีงานทำ”กรณีมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามกรมการจัดหางาน หรือโทรสายด่วน 1506 กด 2
2.2.3 หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชัน “ไทยมีงานทำ” ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play
store หรือ Apple Apps Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิงก์หรือข้อความที่มีคนส่งให้
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ต้องการมีรายได้พิเศษอาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำงานในรูปแบบต่าง โดยมีเงื่อนไขในการสมัครงานง่าย รายได้ดี มาจูงใจให้อยากทำงาน จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกให้ทำภารกิจต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว สุดท้ายหลอกให้โอนเงิน วิธีการของมิจฉาชีพจะเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงไปเรื่อยๆ และอาจมาในรูปแบบ ดังนี้
1. มิจฉาชีพใช้ชื่อบัญชี RB Shopee VIP 034 ติดต่อผู้เสียหายทางแอปพลิเคชัน Telegram เพื่อ
หลอกให้ทำงานรีวิวสินค้าแล้วจะได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นในการทำงาน ผู้เสียหายหลงเชื่อมิจฉาชีพจึงดึงเข้ากลุ่ม VIP 5 คน(หน้าม้า) มีเงื่อนไขต้องลงทุนทำภารกิจโดยให้โอนเงินเข้าพร้อมๆ กัน ในการโอนเงินนั้น หน้าม้าจะใช้สลิปปลอมส่งเข้ากลุ่มหลอกว่าโอนเงินแล้ว ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าไป มิจฉาชีพจะอ้างว่าผู้เสียหายโอนผิดหลักเกณฑ์และอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ผู้เสียหายโอนเงินเพิ่มไปเรื่อยๆ
2. มิจฉาชีพโฆษณารับสมัครงานทาง Facebook ชักชวนทำงานหารายได้พิเศษ เช่น ร้อยลูกปัด มัดยาง
คนท้องก็สามารถทำงานอยู่ที่บ้านได้ ฯลฯ มีค่าคอมมิชชั่นตอบแทนสูง และมีการแอบอ้าง Jobthai โดยให้ทดลองทำงานกดโปรโมทขายสินค้าและโอนเงินเท่าจำนวนสินค้าที่กดโปรโมท ในตอนแรกจะได้รับเงินลงทุนพร้อมผลตอบแทนคืน ต่อมาจะให้กดลิงก์เข้าเว็บไซต์ทดลองงานในขั้นที่ 2 โดยต้องโอนเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายจะอ้างว่าทดลองงานไม่ผ่าน อ้างเหตุผลต่างๆ และต้องโอนเงินปิดระบบการทดลองงาน
จะเห็นได้ว่ามิจฉาชีพจะเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงให้ทำภารกิจไปเรื่อยๆ แต่ให้สังเกตุว่าในตอนแรกจะเสนอค่าตอบแทนจากการทำงานหารายได้พิเศษจำนวนมากๆ เพื่อให้หลงเชื่อ จากนั้นจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือทำภารกิจเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้มิจฉาชีพไป จึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารถึงวิธีการของมิจฉาชีพ และหากต้องการลงทุนในการเทรดหุ้น ควรลงทุนในบริษัทหรือผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. โดยตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www.set.or.th กรณีต้องการทำงานหารายได้พิเศษ ควรติดต่อจากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน หรือกรมการจัดหางานได้ที่เว็บไซต์ https://www.doe.go.th หรือทางแอปพลิเคชัน “ไทยมีงานทำ”กรณีมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามกรมการจัดหางาน หรือโทรสายด่วน 1506 กด 2 และเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่ สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้จาก เว็บไซต์ และเพจ เตือนภัยออนไลน์ หรือโทรสายด่วน 1441

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป